ข้อความต้นฉบับในหน้า
หลังจากที่มีประสบการณ์ในการเข้าถึงธรรมด้วยตัวเอง ท่านจึงมีความตั้งใจที่จะสอนผู้อื่น
ให้ปฏิบัติตามด้วย จึงเริ่มต้นเผยแผ่การเข้าถึงธรรมกายไปยังพระภิกษุ และฆราวาสที่วัดบางปลาในระยะ
เริ่มต้น
การเข้าถึงธรรมภายในของหลวงปู่วัดปากน้ำ ถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดในการเผยแผ่ให้คนได้ปฏิบัติ
สมาธิในวงกว้าง พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) ได้อธิบายการเข้าถึงธรรมของท่านว่า
“ธรรมกายเป็นสิ่งที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนามีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ มากมายทีเดียวแต่ไม่มีคัมภีร์ไหน
เลยที่บอกว่า ธรรมกายมีลักษณะเป็นอย่างไร อยู่ตรงไหน และจะเข้าถึงได้ด้วยวิธีการใด เมื่อหลวงปู่วัด
ปากน้ำท่านเข้าถึงธรรมกาย ความเห็นแจ้งกับความรู้แจ้งเกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง คือพอเห็น
ธรรมกาย ก็รู้ว่านี่เรียกว่าธรรมกาย ความรู้เหล่านี้ต้องอาศัยการหยุดนิ่งอย่างเดียว ใช้มันสมองคิด
อย่างไรก็คิดไม่ออก มีใครบ้างที่ใช้ความนึกคิดหรือศึกษาเล่าเรียน จนเกิดความรู้ได้ว่าภพชาติก่อนๆ นั้น
ตนเองเคยเกิดเป็นอะไรเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายอยู่ในตระกูลไหนมีความเป็นอยู่อย่างไร คือรู้เรื่องราวของ
ชีวิตในกาลก่อนนั้นได้” 1
การสอนของหลวงปู่วัดปากน้ำจึงมุ่งให้ผู้ปฏิบัติทำสมาธิ ทำทานและรักษาศีล เชื่อมั่นว่ากรรมมีจริง
ส่งผลได้จริง ผลบุญผลบาปมีจริง นรกสวรรค์ โลกนี้โลกหน้ามีจริง
ต่อมาหลวงปู่วัดปากน้ำได้มาอยู่ที่วัดปากน้ำ ต. ท่าพระ อ. ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ในยุคนั้น
วัดปากน้ำเป็นพระอารามหลวงวัดหนึ่งในอำเภอนั้น ครั้นเมื่อเจ้าอาวาสลง สมเด็จพระวันรัต (ติสฺสทตฺตเถร)
วัดพระเชตุพน ซึ่งขณะนั้นได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ซึ่งเป็นพระอาจารย์
ของท่านด้วย จึงแต่งตั้งหลวงปู่วัดปากน้ำ ให้รักษาการเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ในปี พ.ศ. 2459 และได้รับ
การแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ เมื่อปี พ.ศ. 2461
ภารกิจของหลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ
ตลอดเวลากว่า 40 ปี ที่ประจำอยู่ ณ วัดปากน้ำ หลวงปู่วัดปากน้ำได้จัดให้มีการศึกษาทางธรรม
ทั้งภาคปริยัติ และปฏิบัติแก่พระภิกษุ สามเณรและฆราวาส สำหรับการศึกษาของพระภิกษุและสามเณร
ได้ส่งเสริมให้เรียนทั้งด้านปริยัติ และปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน อย่างสะดวกสบายโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการขบฉัน
จึงได้จัดตั้งโรงครัวประกอบอาหารเลี้ยงพระภิกษุ สามเณรกว่า 500 รูป และฆราวาสกว่า 1,200 คน ทำให้
มีพระภิกษุและสามเณรมาอยู่ที่วัดมากขึ้น ท่านกล่าวว่า
พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย), “พรรษาวิสุทธิ์”, (กรุงเทพฯ : ฟองทองเอ็นเตอร์ไพร์ส, 2544), หน้า 66.
2 วโรพร, ตามรอยพระมงคลเทพมุนี (หลวงปู่วัดปากน้ำ), หน้า 36 - 37.
บ ท ที่ 6 วัดกัลยาณมิตร... DOU 79