แนวคิดการบำเพ็ญบารมี DF 303 เครือข่ายองค์กรกัลยาณมิตร หน้า 118
หน้าที่ 118 / 128

สรุปเนื้อหา

ในพระธรรมเทศนานี้ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ได้สอนเกี่ยวกับการสร้างบารมีเป็นเป้าหมายหลักของชีวิต ชีวิตคนเราต้องมุ่งสร้างบารมีผ่านการทำบุญ และการหลุดพ้นจากทุกข์ โดยบารมีแบ่งเป็นสามระดับ: ธรรมดา, อุปบารมี, และปรมัตถบารมี รวมเป็น 30 ประการ โดยใช้หลักธรรมใน ขุททกนิกาย และยกตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ เพื่อมุ่งไปสู่พระพุทธเจ้าที่ต้องใช้เวลานานในการสร้างบารมีอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังอธิบายถึงชนิดต่าง ๆ ของบารมี เช่น ทานบารมีและศีลบารมี ที่ช่วยให้หลุดพ้นจากทุกข์และไม่เกิดในทุคติภพ.

หัวข้อประเด็น

-แนวคิดการบำเพ็ญบารมี
-การสร้างบารมีในชีวิต
-หลวงพ่อธัมมชโย
-หลักธรรมเกี่ยวกับการสร้างบารมี
-บารมี 30 ประการ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

8.1.1 พระธรรมเทศนา เรื่อง แนวคิดการบำเพ็ญบารมี 1 ในพระธรรมเทศนานี้ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ท่านได้กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องบารมีโดยตรง ซึ่งเริ่มต้น ได้กล่าวถึงคำขวัญของทางวัดคำขวัญหนึ่งว่า “เราเกิดมาสร้างบารมี ธรรมกายคือเป้าหมายชีวิต” และขยายความว่า ชีวิตคนเรา งานหลักคือการสร้างบารมี การทำมาหากินเป็นเรื่องรอง แต่ก็เป็นสิ่งที่ ต้องทำควบคู่กันไป ต่อมา ท่านได้ให้ความหมายของคำว่าบารมีว่า เต็มเปี่ยม สูงสุด สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งในที่นี้หมายถึง ความเต็มเปี่ยมหรือความสมบูรณ์ของชีวิต ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการสั่งสมบุญ โดยท่านได้กล่าวว่า “บุญที่เรา ทำทีละเล็กละน้อย เมื่อกลั่นตัวมากๆ เข้า จากดวงบุญก็กลายเป็นดวงบารมี” ซึ่งเมื่อมีบารมีเต็มที่แล้ว ก็จะหลุดพ้นจากทุกข์ เข้าสู่นิพพาน โดยท่านใช้คำว่า “ความเต็มเปี่ยมของชีวิต คือได้เข้าถึงพระธรรมกายอรหัต หมดกิเลสเป็นพระอรหัต” โดยการสั่งสมในระดับบารมีนั้น ก็จะต้องสั่งสมจากบารมีขั้นธรรมดา เพิ่มขึ้นเป็น อุปบารมี และปรมัตถบารมี ตามลำดับ จากบารมี 10 คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขา เมื่อสั่งสม 3 ระดับขั้น รวมเท่ากับบารมี 30 ทัศ จากนั้น ท่านได้อธิบายถึง การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์เพื่อไปเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท คือ ประเภทปัญญาธิกะ สร้างบารมีประมาณ 20 อสงไขยกัป ประเภทสัทธาธิกะ สร้างบารมี ประมาณ 40 อสงไขยกัป และประเภทวิริยาธิกะ สร้างบารมีประมาณ 80 อสงไขยกัป พร้อมกับแสดงทัศนะว่า แม้จะสร้างบารมีถึงขั้นวิริยาธิกะ ก็ยังรื้อสัตว์ขนสัตว์เข้าอายตนนิพพานได้ไม่หมด ถ้าจะขนไปให้หมดก็จะ ต้องสร้างบารมี “มุ่งไปให้ถึงที่สุดแห่งธรรม” และสำหรับแนวคิดเรื่องการสร้างบารมีแต่ละประการนั้น ท่าน ได้ยกหลักธรรมใน ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ในเรื่องที่เกี่ยวกับสุเมธดาบส (ทีปังกรพุทธวงศ์) มาขยายความ ดังนี้ ทานบารมี คือบารมีอันดับแรกที่ต้องสร้าง เพราะเป็นการตัดความตระหนี้ให้หลุดพ้นจากใจ และ เป็นการสร้างเสบียงในการเดินทางไกลจากสังสารวัฏไปสู่ความหลุดพ้น ซึ่งถ้ามองในแง่ของพระโพธิสัตว์ ก็จะต้องสร้างให้มากพอที่จะหล่อเลี้ยงตนเองและหมู่คณะ บารมีได้ ศีลบารมี เป็นการรักษาความปกติของตนเองไว้ เพื่อที่จะไม่ไปเกิดในทุคติภพ ที่ไม่สามารถสร้าง เนกขัมมบารมี เป็นการฝึกตัวไม่ให้ยึดติดในลาภยศสรรเสริญ ไม่เกาะเกี่ยวในกามคุณทั้งห้า ที่ ทำให้การไปสู่ความหลุดพ้นต้องเนิ่นช้าไป พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย), พระธรรมเทศนาจากการออกอากาศทางวิทยุ “ธรรมเพื่อประชาชน” ชุด ที่ 3 (ซีดีรอม MP3| มูลนิธิธรรมกาย : มูลนิธิธรรมกาย - คำว่า ทัศ หมายถึง ครบ, ถ้วน ซึ่งบารมี 30 ทัศ หมายถึง บารมี 30 ประการครบถ้วนนั่นเอง บ ท ที่ 8 ก า ร ส ร้ า ง บ า ร มี ข อ ง วัด พระ ธ ร ร ม ก า ย DOU 109
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More