การสร้างเครือข่ายคนดีตามหลักธรรม DF 303 เครือข่ายองค์กรกัลยาณมิตร หน้า 25
หน้าที่ 25 / 128

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เรียกร้องให้ชาวพุทธไทยเลิกเกี่ยวข้องกับอบายมุขและสร้างเครือข่ายคนดีในสังคม โดยเสนอวัตถุประสงค์ในการเปิดบ้านกัลยาณมิตรเพื่อฝึกอบรมสมาชิกในบ้านให้มีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ ตามทิศ 6 ในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีการเน้นถึงคุณธรรมหรือมิตรแท้ที่ช่วยสนับสนุนกันในสังคมเพื่อสร้างความดีรวมทั้งการรับผิดชอบทางศีลธรรมและเศรษฐกิจ

หัวข้อประเด็น

-เลิกอบายมุข
-สร้างคนดี
-บ้านกัลยาณมิตร
-คุณสมบัติของคนดี
-ความรับผิดชอบต่อสังคม
-มิตรแท้ในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เลิกเกี่ยวข้องกับอบายมุขทุกประเภทที่พระพุทธศาสนาสอนว่าเป็นทางนำไปสู่ความฉิบหาย ยิ่งกว่านั้นยังมี การยุให้รัฐออกกฎหมายเพื่อทำให้อบายมุขที่ผิดกฎหมายให้กลายเป็นเรื่องถูกกฎหมายเสียอีกด้วย ดูเหมือน ว่านับวันก็จะมีคนมิจฉาทิฏฐิเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่ชาวพุทธไทยทุกคนจะต้องตื่นขึ้นมาปรับปรุงตนให้เป็นคนดี และ ร่วมกันสร้างเครือข่ายคนดีตามกลวิธีในเรื่องทิศ 6 และการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นความรับผิดชอบและ เป็นอริยวินัยของทิศเบื้องหน้า ก็ควรจะเริ่มต้นด้วยการเปิดบ้านกัลยาณมิตร คือ คือ พ่อแม่ที่เปิดบ้านกัลยาณมิตร จะต้องตั้งวัตถุประสงค์ของบ้านกัลยาณมิตรไว้ให้ชัดเจน 4 ประการ 1. เพื่อปลูกฝังอบรมบุตรธิดาและสมาชิกในบ้าน ให้มีคุณสมบัติของคนดีที่โลกต้องการ ทั้ง 4 ประการ 1) มีความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเอง 2) มีความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของผู้อยู่ร่วมสังคม 3) มีความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ 4) มีความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม 2. เพื่อปลูกฝังอบรมบุตรธิดาและสมาชิกในบ้าน ให้มีคุณสมบัติของมิตรแท้ 16 ประการ จัดได้เป็น 4 หมวด คือ 1) เป็นมิตรมีอุปการะ คือ ป้องกันมิตรผู้ประมาทแล้ว ป้องกันทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว เมื่อมีภัยก็เป็นที่พึ่งพำนักได้ เมื่อมีกิจที่จำเป็นเกิดขึ้น ก็ช่วยโภคทรัพย์ให้ 2 เท่าของทรัพย์ที่ต้องการในกิจนั้น 2) เป็นมิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ คือ บอกความลับแก่เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน ไม่ละทิ้งในยามอันตราย แม้ชีวิตก็อาจจะสละเพื่อประโยชน์ของเพื่อนได้ 16 DOU เครือข่ายองค์กร กัลยาณมิตร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More