การสร้างบารมีตามแนวทางวัดพระธรรมกาย DF 303 เครือข่ายองค์กรกัลยาณมิตร หน้า 123
หน้าที่ 123 / 128

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงนัยที่เป็นเหตุและนัยที่เป็นผลของบารมีในแนวทางของวัดพระธรรมกาย โดยแบ่งบารมีออกเป็น 3 ระดับ มีความสำคัญในการปฏิบัติธรรมเพื่อให้สามารถบรรลุธรรมกายได้ อยู่ในกระแสชีวิตที่มีความรู้สึกเต็มเปี่ยมและการสร้างบารมีที่มีคุณภาพพิเศษ นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์พระภาวนาวิริยคุณเกี่ยวกับการสร้างบารมีในด้านการปฏิบัติและความจำเป็นในการแก้ไขนิสัยที่ไม่ดีที่สะสมมาตลอดชีวิต

หัวข้อประเด็น

-นัยที่เป็นเหตุ
-นัยที่เป็นผล
-ความสำคัญของบารมี
-การสร้างบารมีในวัดพระธรรมกาย
-การสัมภาษณ์พระภาวนาวิริยคุณ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ก) นัยที่เป็นเหตุ บารมี คือ ข้อปฏิบัติ 10 ประการ ที่กระทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตลอดชีวิต มี 3 ระดับคือ บารมีธรรมดา อุปบารมี และปรมัตถบารมี นั่นหมายถึงการปฏิบัติเมื่อถึงที่สุดคือการเอาชีวิต ตนเองเป็นเดิมพัน โดยหากผู้ใดมีความปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า ก็จะต้องสร้างบารมีมากกว่าผู้ ปรารถนาเป็นพระอรหันต์ในระดับสาวก ข) นัยที่เป็นผล คือ ความเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ของชีวิต หมายถึงบุญที่มีคุณภาพพิเศษเต็มเปี่ยม สามารถ เป็นพื้นฐานที่จะปฏิบัติธรรมทำให้กิเลสหมดไปจนบรรลุอรหัตผลได้ โดยแนวทางของวัดพระธรรมกายคือ ให้เห็นความสำคัญของการสร้างบารมี มากกว่าการทำมา หากินเพื่อใช้ชีวิตในทางโลกแบบทั่วๆ ไป ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าจะให้ตัดขาดจากกิจกรรมทางโลก คือให้ทำควบคู่กันไป แต่ให้วางแนวทางของชีวิตของตนไว้ในตามนั้น และในคำสอนเรื่องการบำเพ็ญบารมีนี้ ทางวัดพระธรรมกาย ได้มีการขยายความลงไปอีกว่า มีผลต่อการปฏิบัติธรรม คือ การบำเพ็ญบารมีทำให้ใจไม่ติดอยู่กับเครื่อง ล่อหลอกภายนอก สามารถปฏิบัติธรรมเข้าสู่ศูนย์กลางกาย จนกระทั่งเข้าถึงธรรมกายได้ อันสรุปมาเป็น คำขวัญดังที่กล่าวมาแล้วว่า “เราเกิดมาสร้างบารมี ธรรมกายคือเป้าหมายชีวิต” 8.2 การสร้างบารมี ตามความเข้าใจของวัดพระธรรมกาย คุณสรกานต์ ศรีตองอ่อน ได้สรุปความจากบทสัมภาษณ์ พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว) รักษา การแทนเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการสร้างบารมีตามความเข้าใจของ วัดพระธรรมกาย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 8.2.1 แนวทางการสร้างบารมีของวัดพระธรรมกาย สำหรับหัวข้อนี้ พระภาวนาวิริยคุณท่านได้อธิบายอย่างละเอียด ซึ่งมีหัวข้อย่อยคือ ก) บารมีในเชิงปฏิบัติมี 2 มุมมองคือ บารมี คือ บุญที่มีคุณภาพพิเศษอันเกิดจากการอุทิศชีวิตไป สร้างบุญมา และบารมี คือ นิสัยการเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการสร้างความดีหรือสร้างบุญ ข) ความจำเป็นที่จะต้องสร้างบารมี คือการแก้ไขนิสัยที่ไม่ดีของตนเอง ที่สั่งสมมาข้ามภพข้ามชาติ โดยท่านได้เปรียบนิสัยเหมือนกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำงานในด้านการดำเนินชีวิตของแต่ละคน ซึ่ง โปรแกรมเมอร์ (คนเขียนโปรแกรม) ก็คือแต่ละคนนั่นเอง 1 สำหรับหัวข้อนี้ คุณสรกานต์ ได้รับความเมตตาอย่างสูงจากพระภาวนาวิริยคุณ อนุญาตให้กราบเรียนสัมภาษณ์ เกี่ยวกับเรื่องบารมีนี้โดยตรง เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2547 และกราบเรียนสัมภาษณ์เพิ่มเติมเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2548 ซึ่งบท สัมภาษณ์ดังกล่าวนี้ คุณสรกานต์เห็นว่าเป็นบทสัมภาษณ์ที่จัดเป็นหัวใจของงานวิจัยครั้งนี้ เนื่องจากเป็นการให้ความเห็นของ บุคคลระดับผู้นำของวัดพระธรรมกาย ซึ่งจัดเป็นข้อมูลของวัดพระธรรมกายในระดับปฐมภูมิโดยตรง 114 DOU เครือข่ายองค์กร กัลยาณมิตร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More