ข้อความต้นฉบับในหน้า
และผู้ที่มาวัดเข้าใจเรื่องการสร้างบุญ รู้จักการทำทานในพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ความเข้าใจใน
เรื่องการทำทานที่วัดปลูกฝัง จึงทำให้วัดสามารถดำเนินงานทั้งหมดได้ด้วยเงินบริจาคทำบุญ
ปี พ.ศ. 2539 วัดได้สร้างสภาธรรมกายสากลหลังปัจจุบัน เพื่อรองรับสาธุชน 100,000 คน เป็น
อาคาร 2 ชั้น มีพื้นที่ใช้งานรวม 370,000 ตารางเมตร เริ่มใช้งานครั้งแรกเมื่อวันทอดกฐินที่ 3 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2539 สภาธรรมกายสากลหลังนี้จึงเป็นสถานที่สำหรับการจัดกิจกรรม และพิธีกรรมของวัดในวันอาทิตย์
วันอาทิตย์ต้นเดือน และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาจนถึงปัจจุบัน
ในยุคเผยแผ่นี้ การพัฒนาบุคลากรภายในจัดว่าเป็นระบบ และวัดพัฒนาระบบการทำงานควบคู่
ไปด้วย กิจกรรมของวัดจึงขยายไปในวงกว้างสู่สายตาประชาชน จึงเกิดเป็นข่าววิกฤตของวัดในปี พ.ศ. 2541
เป็นต้นมา
ลักษณะการจัดระเบียบทางสังคม
คือ การจัดประเภทของสมาชิกและการจัดตำแหน่งด้านการทำงาน
ก. การจัดประเภทสมาชิก
ในการจัดประเภทสมาชิกของวัด วัดแบ่งตามสถานภาพ และการรักษาศีล เช่น พระ เณร อุบาสก
อุบาสิกา อาสาสมัคร พนักงาน และในแต่ละสถานภาพ ยังแบ่งเป็นสมาชิกประจำของวัด และสมาชิกที่
กำลังผ่านการฝึกอบรมเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่ประจำ ซึ่งวัดมีการเรียกสมาชิกแต่ละประเภทที่แตกต่างกันไป
นอกจากนี้ยังมีผู้ที่มีศรัทธา ลาออกจากงาน หรือเกษียณแล้วมาเป็นเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีทั้งรับสวัสดิการรายเดือน
และช่วยตามศรัทธาไม่รับปัจจัย ซึ่งจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป
1. เจ้าหน้าที่ประเภทสามัญ คือ พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ผ่านการอบรม และ
บรรจุเป็นสมาชิกประจำของวัด มีการเข้าเป็นสมาชิกนับรุ่นในแต่ละปี
บุคลากรแต่ละประเภทจะมีที่พักอาศัย เรียกว่า “อาศรม” ได้แก่
พระภิกษุ พักที่ อาศรมบรรพชิต
สามเณร พักที่ หมู่กุฏิสามเณร อยู่ในสายปกครองของอาศรมบรรพชิต
อุบาสก พักที่ อาศรมอุบาสก
อุบาสิกา พักที่ อาศรมอุบาสิกา
ในการดูแลปกครองของสมาชิกแต่ละอาศรม จะมีหัวหน้าอาศรม ผู้ช่วยหัวหน้าอาศรม และคณะ
กรรมการอาศรม ทำหน้าที่ปกครองและดูแล
98 DOU เครือข่ายองค์กร กั ล ย า ณ มิตร