อุปสรรคในการทำกิจกรรมของครอบครัว DF 303 เครือข่ายองค์กรกัลยาณมิตร หน้า 32
หน้าที่ 32 / 128

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงอุปสรรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในครอบครัว ทำให้สมาชิกไม่สามารถร่วมกิจกรรมพร้อมกัน ได้แก่ภาระหน้าที่ในการประกอบอาชีพ การเข้าร่วมกิจกรรมของลูกๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงตามวัย และปัจจัยต่างๆ เช่น ญาติผู้ใหญ่ รวมทั้งความสำคัญของการปฏิบัติพระธรรมที่มีผลต่อความเข้าใจในพุทธศาสนา สำหรับบ้านกัลยาณมิตรที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องสร้างบรรยากาศที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคนอย่างจริงจัง หากการส่งเสริมกิจกรรมไม่จัดให้มีความรู้ที่เพียงพอ สมาชิกอาจไม่เข้าใจและไม่เกิดปัญญาจนทำให้โครงการนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ

หัวข้อประเด็น

-อุปสรรคในการทำกิจกรรม
-การประกอบอาชีพและผลกระทบ
-การเข้าร่วมกิจกรรมของลูกๆ
-บทบาทของญาติในครอบครัว
-บุญกิริยาวัตถุ 3
-การสร้างบ้านกัลยาณมิตร
-ความสำคัญของการศึกษาในพระธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4. ภาระหน้าที่ในการประกอบอาชีพของคู่สามีภรรยา จะเป็นอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งในการทำ กิจกรรมของสมาชิกในครอบครัวโดยพร้อมเพรียงกัน ตามเวลาที่กำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคู่สามี ภรรยาที่มีประสบการณ์ภายในเกี่ยวกับการเจริญภาวนาอยู่ในระดับต่ำ 5. ครอบครัวที่เริ่มเปิดบ้านกัลยาณมิตร เมื่อลูกๆ โตเกินวัยประถมต้นไปแล้ว อาจจะมีปัญหา ในการชักชวน แนะนำ โน้มน้าวลูกๆ เข้าร่วมกิจกรรมประจำทุกวัน 6. รายการโทรทัศน์ภาคค่ำจะเป็นอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่ง ต่อการที่จะดึงสมาชิกทุกคนใน ครอบครัวมาปฏิบัติกิจกรรมพร้อมๆ กัน 7. ญาติผู้ใหญ่ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา แม้เพียงคนใดคนหนึ่งที่มาอยู่กับครอบครัว อาจเป็นได้ทั้งตัวปัญหาอุปสรรค หรือเป็นผู้ส่งเสริมการทำกิจกรรมของบ้านกัลยาณมิตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ คุณสมบัติเฉพาะตัวของญาติแต่ละคนที่มาอยู่กับครอบครัว 8. บรรดาลูกๆ ที่อยู่ในวัยรุ่น ถึงแม้จะเคยร่วมกิจกรรมของบ้านกัลยาณมิตรมาแต่เล็กแต่น้อย ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงเป็นการแสดงความเบื่อหน่ายไม่อยากเข้าร่วมกิจกรรมดังเช่นเคย ถ้าเขาไปคบหา สมาคมกับเพื่อนที่โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่ไม่ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และถ้าพ่อแม่รู้สึก ให้ปรับตัวปรับใจเสียใหม่ การเปิดบ้าน อิดหนาระอาใจกับพฤติกรรมเช่นนั้นของลูกๆ ไม่เคี่ยวเข็ญลูกๆ กัลยาณมิตรของครอบครัวนี้ย่อมไม่ประสบผลสำเร็จ 9. พระธรรมคำสั่งสอนจำนวนมากมายถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ เมื่อรวมสรุปลงเป็น ภาคปฏิบัติในชีวิตประจำวัน สำหรับฆราวาสแล้วก็จะมีเพียง 3 เรื่อง คือ ทาน ศีล ภาวนา ซึ่งมีคำศัพท์ เรียกโดยเฉพาะว่า “บุญกิริยาวัตถุ 3” การปฏิบัติบุญกิริยาวัตถุ 3 เป็นประจำวัน จะสามารถตอกย้ำความรู้ ความเข้าใจในพระพุทธศาสนา ให้มั่นคงอยู่ในจิตใจพุทธศาสนิกยิ่งๆ ขึ้น ไป แต่ถ้าบ้านกัลยาณมิตรเพียง แต่ชักนำส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัว ปฏิบัติบุญกิริยาวัตถุ 3 โดยไม่มีการให้ความรู้ด้านพระธรรมวินัย เท่าที่ควร สมาชิกก็อาจจะยังไม่เกิดปัญญาสามารถนำความรู้และประสบการณ์จากการปฏิบัติกิจกรรม มาปรับใช้ในชีวิตจริงได้ ถ้าเป็นเช่นนั้น โครงการบ้านกัลยาณมิตรก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ 10. ครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ ในการเปิดบ้านกัลยาณมิตรที่ทายาทสืบสกุลเป็นคนดีที่โลก ต้องการ มีลักษณะกัลยาณมิตรอย่างครบถ้วน ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพการงาน แต่ถ้า ทายาทเหล่านั้นเมื่อแต่งงานมีครอบครัวไปแล้วไม่เปิดบ้านกัลยาณมิตรเพราะมีความคิดว่าการฝึกอบรมให้ลูกๆ ของตนเป็นคนดี ไม่ใช่เรื่องยากเย็น อะไรเพราะตนเองซึ่งเป็นพ่อแม่เป็นคนดีอยู่แล้ว หรือจะเป็นเพราะมี เหตุผลอื่นใดก็ตาม วงจรกัลยาณมิตรของตระกูลก็อาจจะจบอยู่ที่รุ่นลูกของตน ไม่มีสืบต่อไปถึงรุ่นหลาน เข้าทำนองตระกูลเศรษฐีตั้งอยู่ไม่นาน อาจจะล่มสลายลงแค่เพียงสองสามชั่วคนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ก็อย่าได้กังวลกับปัญหาและอุปสรรคโดยไม่ได้เริ่มอะไร ควรทดลองเปิดบ้าน บ ท ที่ 2 บ้ า น กั ล ย า ณ มิตร DOU 23
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More