ชุมชนวัดพระธรรมกาย DF 303 เครือข่ายองค์กรกัลยาณมิตร หน้า 109
หน้าที่ 109 / 128

สรุปเนื้อหา

ชุมชนของวัดพระธรรมกายตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ ประกอบด้วยพระภิกษุกว่า 600 รูป สามเณรกว่า 300 รูป อุบาสกและอุบาสิกาอีกกว่า 500 คน ที่ร่วมกันทำกิจกรรมและรักษาศีลตามหลักพระพุทธศาสนา สมาชิกทุกคนต้องเข้ารับการอบรมในโครงการต่างๆ ของวัด ทั้งการอบรมธรรมทายาทและการอบรม สำหรับอุบาสก อุบาสิกา ทำให้ทุกคนมีวัตถุประสงค์ในการอยู่ร่วมกันเพื่อสร้างบารมีของตนเองและช่วยเหลือผู้อื่น กิจวัตรประจำวันของชุมชนมีความแตกต่างจากคนทั่วไป โดยมีการนุ่งห่มและแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ตามวินัยสงฆ์ นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งประเภทที่พักตามประเภทของสมาชิก เช่น อาศรมบรรพชิต สำหรับพระภิกษุ และอาศรมสำหรับอุบาสกและอุบาสิกา เพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตและการทำงานภายในวัด

หัวข้อประเด็น

- ชุมชนวัดพระธรรมกาย
- การอบรมธรรมทายาท
- กิจกรรมภายในวัด
- การรักษาศีล
- วินัยสงฆ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ชุมชนของวัดพระธรรมกาย บนพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ พระภิกษุกว่า 600 รูป (จำนวนประมาณในปี พ.ศ. 2536) รักษาศีล 227 ข้อ สามเณรกว่า 300 รูป รักษาศีล 10 ข้อ อุบาสกกว่า 100 คน และอุบาสิกากว่า 400 คน รักษาศีล 8 ข้อ สมาชิกของวัดกว่า 1,500 รูป/คน ที่จำพรรษา พักอาศัย ใช้ชีวิตภายในวัดและทำงานให้กับวัด กว่า 15 ปี 10 ปี 5 ปี และ 1 ปี ทั้งพระภิกษุ และอุบาสก อุบาสิกา จะอยู่ในวัยอายุเฉลี่ย 25-45 ปี มีเป้าหมายใน การเข้ามาอยู่วัดเพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น ด้วยวัยที่พร้อมที่จะทำงานให้กับพระพุทธศาสนาที่ตน เรียกว่า “งานสร้างบารมี” พระภิกษุ สามเณรทุกรูป และอุบาสก อุบาสิกาทุกคน จะต้องผ่านการอบรมในโครงการอบรม ต่างๆ ของวัด เช่นโครงการอบรมธรรมทายาทชาย หญิง โครงการอบรมยุวธรรมทายาท ผู้เข้าอบรมอายุ ระหว่าง 20-35 ปี จากนั้นวัดจึงจัดให้มีการอบรมพระภิกษุนวกะ สามเณรนวกะ และอบรมบุคลากรใหม่ สำหรับอุบาสก และอุบาสิกาในระยะเวลาที่แตกต่างกัน เมื่อผ่านเข้ามาเป็นสมาชิกของวัดแล้ว ทุกรูป ทุกคน จะพักที่อาศรม ของตนได้แก่ อาศรมบรรพชิต หมู่กุฏิสามเณร อาศรมอุบาสก และอาศรมอุบาสิกา เขาเหล่านี้ มีกิจวัตรกิจกรรมที่แตกต่างจากชาวโลกนับตั้งแต่ตื่นนอน จนกระทั่งเข้านอน มีการนุ่งห่ม หรือ การแต่งกายที่แตกต่างจากคนทั่วไป การนุ่งห่มของพระภิกษุเหมือนพระภิกษุทั่วไป หากไปฉันหรือลงพิธีกรรมของสงฆ์จะห่มดองคือ ห่มผ้าเปิดไหล่ขวา มีผ้าพาดที่ไหล่ซ้ายและมีผ้ารัดอก ความยาวของการนุ่งสบงเท่ากับครึ่งหน้าแข้ง การห่ม จะดูกระชับ จีวรไม่ลอยชาย เป็นปริมณฑล แต่โดยทั่วๆ หากไม่ได้ลงพิธีกรรม พระภิกษุจะห่มบวบ คือการ ห่มโดยม้วนจีวรเข้า และพาดไหล่ซ้าย เปิดไหล่ขวา ชายจีวรที่ม้วนจะใช้มือซ้ายถือ หากลงงานพัฒนา หรือ ทำงานด้านการก่อสร้างท่านจะใส่เฉพาะอังสะและสบง อังสะคือผ้าเฉียงบ่า เปิดไหล่ขวา ชายปล่อยออก นอกสบง) เพื่อสะดวกในการทำงาน การนุ่งห่มของสามเณร เช่น อังสะของสามเณรจะมีข้อแตกต่างกับของพระ คืออังสะจะไม่มี รอยต่อที่เอว เป็นผ้าผืนเดียวกันตลอด พระภิกษุ หรือสามเณร จะมีชุดพัฒนา คือ จะเลือกอังสะที่เก่า และสบงที่เก่า เพื่อทำงานพัฒนา ความสะอาด ปัดกวาดเสนาสนะ ทำสวน หรือซ่อมแซมอาคาร เป็นต้น การแต่งกายของอุบาสก หากเป็นวันงานบุญใหญ่ จะแต่งกายชุดขาว คือ “ชุดอุบาสก” เสื้อ พระราชทานสีขาว กางเกงสีขาว รองเท้าสีดำ หากเป็นวันปฏิบัติงานจะใช้กางเกงสีน้ำเงิน นอกจากนี้ ยัง มีชุดซาฟารีสีเทา เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ในการพบปะบุคคลภายนอก หรือไปติดต่องานตาม - ที่พักของสมาชิกแต่ละประเภทเรียกว่า “อาศรม” เช่น อาศรมบรรพชิต (ที่พักของพระภิกษุ), อาศรมอุบาสก (ที่พัก ของอุบาสก) หรือ อาศรมอุบาสิกา (ที่พักของอุบาสิกา) 100 DOU เครือข่ายองค์กร กัลยาณมิตร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More