ข้อความต้นฉบับในหน้า
รถที่เปิดเพิ่มขึ้นจากการแนะนำของกัลยาณมิตรที่มาวัดอย่างสม่ำเสมอ และอาสาทำหน้าที่ดูแลการจัดรถ
ออกตามจุดต่างๆ และการรับกลับมาส่งด้วย จุดจอดรถส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านใหญ่ๆ หรือเป็นย่านชุมชนที่
คนมาก เช่น วงเวียนใหญ่ สุขุมวิท ลาดพร้าว บางมด สมุทรปราการ เป็นต้น
กล่าวได้ว่าจากยุคบุกเบิกสร้างวัด จนมาสู่ยุคเริ่มขยายงาน วัดได้มุ่งฝึกบุคลากรหลักคือ พระภิกษุ
ในระยะแรก เพื่อรับผิดชอบงานหลักๆ ของวัด หน้าที่หลักที่สำคัญที่ต้องให้ความเอาใจใส่คือ การฝึกให้
ทำหน้าที่เทศน์และการอบรมธรรมสำหรับบุคลากร เป็นผลให้สามารถเปิดรับสามเณร อุบาสก อุบาสิกา
เข้ามาอบรมในจำนวนที่มากขึ้น ยุคเริ่มขยายงานนี้จึงเป็นยุคพัฒนาคนเพื่อให้คนไปพัฒนางาน รองรับงาน
ในหน้าที่ต่างๆ เนื่องมาจากจำนวนสาธุชนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการพัฒนาบุคลากร วิธีการบริหารงาน
สาธุชนจึงศรัทธาวัด และมาวัดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งนั่นเป็นเพียงปัจจัยภายนอกทั้งหมด แต่ปัจจัยภายในคือ
สาธุชนรักการปฏิบัติธรรม เพราะเห็นผลของการปฏิบัติด้วยตนเองจึงมาวัดอย่างตลอดต่อเนื่อง
7.3 ยุคเผยแผ่ (พ.ศ. 2536 - ถึงปัจจุบัน)
ในปี พ.ศ. 2534 จำนวนพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา มีจำนวนมากขึ้นกว่า 500 รูป/คน
คณะบริหารงานวัดโดยมีหลวงพ่อธัมมชโยเป็นประธาน จึงปรับโครงสร้างการทำงาน ให้เป็นสำนัก กอง แผนก
และเริ่มใช้โครงสร้างใหม่ในปี พ.ศ. 2535 จัดรูปแบบการทำงาน การบริหารงาน และกฎเกณฑ์ในการทำงานใหม่
รวมทั้งแยกรูปแบบการพักอาศัยอย่างชัดเจนออกจากการทำงาน มีการบรรจุเจ้าหน้าที่ทำงาน ตามความถนัด
ความสนใจ ความสามารถ มีการทดลองงาน สำหรับพระภิกษุใหม่ และอุบาสก อุบาสิกาใหม่ มีหลักสูตร
การอบรมบุคลากรใหม่ในระยะเวลาที่เหมาะสม และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนเป็นระบบในปี พ.ศ. 2537
จนต่อมาผู้บริหารงานมีนโยบายให้มีส่วนงานที่มุ่งพัฒนาบุคลากรภายในโดยเฉพาะเรียกว่า “สถาบันพัฒนา
บุคลากร” (จัดการศึกษา และอบรมบุคลากรภายในเท่านั้น) และมีหน่วยงานที่มุ่งพัฒนาคนภายนอกเรียก
ว่าสำนักเผยแผ่ (อบรมบุคลากรภายนอก)
ส่วนด้านการปฏิบัติธรรม พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) ได้พัฒนาเจ้าหน้าที่ภายใน ทั้ง
พระภิกษุอุบาสก อุบาสิกา โดยให้เจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมระยะยาว เพื่อให้มี
ประสบการณ์ภายในด้วยตัวของตัวเอง บุคลากรกลุ่มนี้ได้เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงานโครงการปฏิบัติ
ธรรมพิเศษ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 (รุ่นที่ 1 วันที่ 21-27 มีนาคม พ.ศ. 2536)
โครงการปฏิบัติธรรมพิเศษเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้สาธุชนที่มาวัดเป็นประจำและอยาก
ปฏิบัติธรรมต่อเนื่องในระยะเวลา 7 วัน โครงการนี้ทำให้สาธุชนมีประสบการณ์การปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง
ส่งผลให้รักการมาวัดมากขึ้น เมื่อสาธุชนได้รับผลของการปฏิบัติธรรมด้วยตัวเองแล้ว จึงเกิดการตื่นตัว
ในการชักชวนญาติพี่น้องมาวัดพระธรรมกายเพิ่มขึ้นในวงกว้าง ทำให้ในระยะนั้นมีคนมาวัดในวันอาทิตย์
ธรรมดา 2,000-3000 คนและในวันอาทิตย์ต้นเดือน 10,000 คน ส่วนในวันงานบุญใหญ่จำนวน 50,000 คน
บทที่ 7 วิ วั ฒ น า ก า ร ข อ ง วั ด พ ร ะ ธ ร ร ม ก า ย DOU 97