การตอบปัญหาธรรมะ 'ทางก้าวหน้า' และการพัฒนาในวงการศึกษา DF 303 เครือข่ายองค์กรกัลยาณมิตร หน้า 64
หน้าที่ 64 / 128

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอการเดินทางของโครงการตอบปัญหาธรรมะ 'ทางก้าวหน้า' ตั้งแต่การจัดสอบที่จุฬาฯ จนถึงการขยายตัวไปสู่ระดับภูมิภาค การออกแบบใหม่ของสนามสอบ และการรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในวงการศึกษา โดยเฉพาะการเน้นคัดเลือกนักเรียนจากหลายพื้นที่และการยกเลิกระบบโควต้าในการสอบ เพื่อให้โอกาสแก่นักเรียนมากขึ้น รวมถึงการประกาศรายชื่อนักเรียนที่ได้รับรางวัลที่เป็นทางการครั้งแรก

หัวข้อประเด็น

-การตอบปัญหาธรรมะ
-การขยายการจัดสอบ
-เหตุการณ์สำคัญในปี 2530
-การเพิ่มจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ
-การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ไม่ใช่งานกิจกรรมที่จะจัดสอบในระบบเดิม และการจัดสอบพร้อมกันใน วันเดียวที่จุฬาฯ ก็เป็นอันพ้นวิสัยอีกต่อไป ปัญหาเรื่องสถานที่นั้นเด่นชัดว่าต้องหาทางขยับขยายออกไป จากจุฬาฯ แต่เรื่องใหญ่สำหรับคณะกรรมการ คือการที่ไม่สามารถบริการเรื่องอาหารแก่นักเรียนที่มาจาก ต่างจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือน้องเล็กๆ ระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเมื่อแยกระดับประถมศึกษาตอนต้น และประถมศึกษาตอนปลาย บัดนี้จึงถึงเวลาอันสมควรที่การตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ต้องอำลาจากจุฬาฯ และนั่นคือ หัวเลี้ยวหัวต่ออันสำคัญยิ่ง ที่การตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ได้พัฒนายั่งยืนมาจนถึงทุกวันนี้ 5.3 ช่วงที่ 2 ยุคที่การจัดสอบขยายตัวไปสู่ระดับภูมิภาค ต้นปีการศึกษา 2530 มีเหตุการณ์หลายอย่างที่ทำให้คณะกรรมการต้องตัดสินใจว่า จะจัด นิทรรศการและจัดตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” หรือไม่ ในที่สุด ได้มีการวางแผนกันอย่างเร่งรีบ ได้ผลสรุปว่า ให้มีการจัดสอบรอบคัดเลือกในสนามสอบต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ รวม 10 สนามสอบ กระจาย ไปตามภาคต่างๆ ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น ร้อยเอ็ด สงขลา (หาดใหญ่) และนครปฐม เมื่อนักเรียนสอบผ่านรอบคัดเลือกแล้ว ครั้งแรกนี้ได้คัดนักเรียนเพียง 600 คน มาสอบรอบ ชิงชนะเลิศที่วัดพระธรรมกาย ที่สภาธรรมกายหลังคาจาก ซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จใช้งานได้เพียง 2 ปี คณะกรรมการต้องใช้รถสิบล้อขนโต๊ะเก้าอี้ที่ขอยืมมาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งใช้เวลา เตรียมสถานที่ทั้งคืน เมื่อแจ้งผลสอบแล้ว มีการจัดให้นักเรียนที่ได้รับรางวัลไปร่วมพิธีรับรางวัลและเปิดงานนิทรรศการ “ทางก้าวหน้า” (ขนาดย่อ) ที่ชั้นล่าง ศูนย์การค้ามาบุญครอง ซึ่งเปิดทำการใหม่ จึงมีพื้นที่ว่างโล่งอยู่ ตลอดชั้นล่าง สิ่งใหม่ในการจัดสอบครั้งที่ 6 คือ ทำให้เกิดชื่อ “ซุปเปอร์ไวเซอร์” เป็นครั้งแรก และเป็นภารกิจ ของซุปเปอร์ไวเซอร์รุ่นต่อๆ มาในการไปทำหน้าที่ประสานงานกับคณะครูอาจารย์ ขนส่งข้อสอบ จัดการสอบ ตามโรงเรียนต่างๆ ที่จัดเป็นสนามสอบทั่วประเทศ เป็นครั้งแรกที่มีการประกาศรายชื่อนักเรียนที่ได้รับรางวัล ก่อนหน้านั้นเป็นการประกาศรายชื่อ โรงเรียนเท่านั้น และการฝ่ายทะเบียนส่งผลสอบพร้อมกับคะแนนของนักเรียน ทำให้เป็นที่พอใจของ อาจารย์ประสานงาน แต่การจัดระบบโควต้า คือจำกัดจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ เพื่อให้ฝ่ายทะเบียนจัด ระบบงานใหม่นั้นทำให้เกิดความเศร้าโศกเสียใจแก่นักเรียนจำนวนมาก ที่ไม่ได้เข้าสอบ คณะกรรมการรู้สึก เสียใจกับน้องๆ เป็นอย่างมาก ในปีต่อๆ มาจึงมีการเพิ่มจำนวนนักเรียนที่ส่งเข้าสอบได้มากขึ้นและยกเลิก ระบบโควต้าในการสอบครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2536) บทที่ 5 โครงการเชิงกัลยาณมิตร... DOU 55
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More