บุญบารมีสำหรับวันใหม่ DF 303 เครือข่ายองค์กรกัลยาณมิตร หน้า 113
หน้าที่ 113 / 128

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการดูแลวัดหลังการจัดงานบุญใหญ่ โดยสมาชิกทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการเก็บขยะ ทำให้วัดสะอาดอย่างรวดเร็ว และมีการจัดระบบการทำงานเพื่อรองรับสาธุชนมากมาย การพัฒนาบุคลากรและการทำให้วัดเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติธรรมด้วยความเป็นระเบียบและความสะดวกในการเข้าถึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง การขยายงานและรองรับสาธุชนที่เข้ามาทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมีระบบเป็นผลจากกระบวนการขัดเกลาทางสังคมและพัฒนาบุคลากรในวัด.

หัวข้อประเด็น

-การดูแลวัด
-การเก็บขยะ
-การพัฒนาบุคลากร
-การทำงานร่วมกัน
-ความสะอาดและระเบียบของสถานที่

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บุญบารมีสำหรับวันใหม่ สิ่งที่น่าสนใจในการดูแลวัดให้สะอาด คือหลังการจัดงานบุญใหญ่ สมาชิกทั้ง 3 อาศรมจะแบ่ง พื้นที่เก็บเพชรพลอย (ขยะ) เนื่องจากภายหลังการจัดงาน มีเศษขยะที่คนมาวัดเป็นจำนวนมากทิ้งไว้ อุบาสิกา ท่านหนึ่งเล่าว่า “หลังงานบุญใหญ่ เราจะใส่เสื้อสีฟ้าแขนยาวที่เรียกว่าเสื้อพัฒนานี้เก็บเพชรพลอย (ขยะ) พื้นที่กว่า 2,000 ไร่ จะถูกแบ่งส่วนการรับผิดชอบ สำหรับพระ เณร อุบาสก ส่วนอุบาสิกาจะรับบุญ บริเวณพื้นที่ด้านหลังเจดีย์ ภายในเวลาเพียงครึ่งวัน ก็สามารถเก็บขยะได้หมดทั้งวัด ด้วยการทำงานพร้อมกัน วัดจึงสะอาดได้อย่างรวดเร็ว” สรุปได้ว่าการจัดสภาพทางภูมิศาสตร์และชุมชนของวัดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว พบว่าวัดจัดระบบ ดังกล่าวบนพื้นฐานบุคลากรที่อยู่ร่วมกันหลายเพศ ภาวะ จำนวนมาก มีกิจวัตรประจำวันที่เป็นระบบที่ ชัดเจนซึ่งเป็นวินัยส่วนตัว มีการกำหนดเครื่องแบบเพื่อให้เป็นมาตรฐาน ซึ่งทำให้เกิดเป็นระเบียบวินัยของ ส่วนรวม และวัดกำหนดให้บุคลากรดังกล่าวทำหน้าที่รักษาดูแลวัด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันด้วย ในด้านการทำให้วัดเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติธรรม และการฟังธรรมของสาธุชน วัดคำนึงถึง ความสะดวกในการมาวัดของสาธุชน ความสะอาด ความเป็นระเบียบของสถานที่และการบริการเพื่อ รองรับคนจํานวนมากอย่างเป็นระบบ หากจะมีข้อสังเกตว่า เหตุใดวัดจึงสามารถขยายงานและรองรับสาธุชนจำนวนเป็นแสน ภายในเวลา 35 ปี พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา มีการพัฒนาอย่างไร จึงสามารถทำงานรองรับกิจกรรมต่างๆ ได้ และสาธุชนที่มาวัดมีกิจกรรม และได้รับความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างไรจึงสามารถมาวัดได้อย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าเป็นเพราะกระบวนการขัดเกลาทางสังคม และพัฒนาบุคลากร น่าจะเป็นสิ่งสำคัญที่อยู่เบื้องหลัง การเติบโตของวัดอย่างแน่นอน กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 7 วิวัฒนาการของวัดพระธรรมกาย จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 7 ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 7 แล้วจึงศึกษาบทที่ 8 ต่อไป 104 DOU เครือข่ายองค์กร กัลยาณมิตร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More