ข้อความต้นฉบับในหน้า
การบำเพ็ญบารมี จำเป็นสำหรับทุกคนที่มุ่งหวังทางพ้นทุกข์ คือมรรคผลนิพพาน โดยหากมุ่งหวัง
เป็นพระพุทธเจ้าก็จะต้องปฏิบัติในระดับเข้มข้น เพราะจะต้องไปเป็นบรมครูของชาวโลกหรือสัตว์โลกในยุค
นั้นๆ แต่ถ้ามุ่งไปเป็นพระอรหันต์ หมดกิเลสเท่านั้น ก็ปฏิบัติหย่อนลงมาสักนิด แต่ไม่ถึงกับหย่อนยาน
ข้ามชาติไป
ข) บารมี คือ อะไร
บารมีคือความดีอย่างยิ่งยวดที่ทุกคนจะต้องทำ จนกระทั่งกลายเป็นนิสัย เป็นสันดานข้ามภพ
ค) บารมีที่ต้องสร้าง มีอะไรบ้าง
มี 10 ประการเหมือนกับที่พระราชภาวนาวิสุทธิ์อธิบายไว้โดยท่านเน้นว่า จะต้องทำทั้ง 10 ประการ
นี้อย่างยิ่งยวดหมายถึง ทำแบบเอาชีวิตเป็นเดิมพันและทำอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ง) รายละเอียดของบารมีใน 10 ประการนั้น โดยภาพรวม คือ การนำพระสูตรที่ปังกรพุทธวงศ์
มาอธิบายขยายความ คล้ายกันกับพระธรรมเทศนาของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ แต่จะให้รายละเอียดเพิ่มขึ้น
ในแง่ของการนำไปใช้ ซึ่งสิ่งที่พิ่มเติมขึ้นมาโดยสรุปคือ
ทานเป็นสิ่งที่ช่วยกำจัดความโลภ ซึ่งความโลภนี้เป็นตัวถ่วงอย่างหนึ่งที่ทำให้ไม่เข้าถึงศูนย์กลางกาย
โดยการบำเพ็ญทานบารมี เพื่อไปสู่ความหลุดพ้น ก็คือการสร้างนิสัยรักการเสียสละเป็นชีวิตจิตใจ ดังที่
สุเมธดาบส อุปมาไว้ว่า เห็นคนขาดแคลนไม่ว่าจะต่ำทรามสูงส่งและปานกลาง ก็จงให้ทานให้หมดเหมือน
หม้อน้ำที่เขาคว่ำปากไว้ แต่พระภาวนาวิริยคุณ ก็ได้ย้ำว่า ในกรณีของชาวโลก ก็คงไม่ถึงกับให้ทานเหมือน
พระโพธิสัตว์คือให้แบบหมดตัว ควรใช้แนวคิดนี้ไปในทำนองว่า จะให้ทานอย่างต่อเนื่องไม่ให้ขาดตอนไปทุก
วันๆ มากกว่า
ศีล เป็นสิ่งที่ช่วยกำจัดความหยาบคายทั้งทางกาย วาจา และใจ การบำเพ็ญศีลบารมี คือการ
รักษากาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อยทั้งในแง่ของศีล รวมไปถึง กฎหมายบ้านเมือง มารยาททางสังคม เพื่อไม่
ให้เราไปทำความเดือดร้อนให้คนอื่น
เนกขัมมะ เป็นสิ่งที่ช่วยตัดใจออกจากกาม ตลอดจนความสุขทางเนื้อหนัง ซึ่งเปรียบเหมือน
เครื่องพันธนาการ อย่างน้อยชาวโลกทั่วไป ก็ควรหาโอกาสถือศีล 8
ของตนเอง
ปัญญา เป็นสิ่งที่ช่วยกำจัดความไม่รู้ อันเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพ้นทุกข์
วิริยะ คือ ความไม่กลัวต่ออุปสรรคต่างๆ มีความเพียรอย่างยิ่งยวดที่จะปรับปรุงแก้ไขนิสัยที่ไม่ดี
ขันติ คือ การสร้างความอดทนทั้งร่างกายและจิตใจ รักษาใจให้หนักแน่นต่อการบำเพ็ญบารมี
บทที่ 8 ก า ร ส ร้ า ง บารมี ข อ ง วั ด พ ร ะ ธ ร ร ม ก า ย
DOU 111