ข้อความต้นฉบับในหน้า
จากนั้นจึงตั้งจิตอธิษฐานให้ได้บวช และจะไม่ลาสิกขาจนตลอดชีวิต ท่านได้อุปสมบทเมื่ออายุได้
22 ปี ใน พ.ศ. 2449 การตัดสินใจบวชของท่านเกิดจากสาเหตุของการพิจารณาการมีชีวิตอยู่ทั้งเกิด แก่
เจ็บ ตาย ของบุคคลใกล้ตัว และเมื่อตายไปก็ไม่สามารถนำอะไรไปได้ การบวชจึงเป็นวิธีการแสวงหา
คุณประโยชน์ให้เกิดกับชีวิตที่ดีกว่าทางโลก เมื่อบวชแล้วท่านเพียรพยายามเรียนทั้งวิปัสสนาธุระและ
คันถธุระ จนเวลาผ่านไป 11 ปี ในพรรษา ที่ 12 จึงมีความคิดอยากปฏิบัติธรรมให้เข้าถึง “ของจริงที่
พระพุทธเจ้าท่านรู้ท่านเห็น” ครั้นในวันเพ็ญกลางเดือน 10 พ.ศ. 2460 ท่านได้ตั้งใจปฏิบัติธรรมโดยไม่ลุก
จากที่นั่ง ณ อุโบสถ วัดบางคูเวียง
ข้อความต่อไปนี้เป็นบันทึกของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (ท่านบันทึกเอง) ลงพิมพ์ใน
“มงคลสาร” ปีที่ 1 เล่ม 1 เมื่อ 1 กันยายน 2507 ซึ่งแสดงว่า ท่านบรรลุธรรมภายในตัวท่าน มีใจความดังนี้
“ประมาณครึ่งหรือค่อนคืนไม่มีนาฬิกา ก็เห็นผังของจริงของพระพุทธเจ้าซึ่งมีอยู่ในหนังสือธรรมกาย
ที่คุณพระทิพย์ปริญญาเรียบเรียงพิมพ์แจกไปแล้วนั้น ในขณะนั้นก็มาปริวิตกว่า คัมภีโรจายัง ธรรมเป็น
ของลึกถึงเพียงนี้ ใครจะไปคิดคาดคะเนเอาได้ พ้นวิสัยของความตรึกนึกคิด ถ้ายังตรึกนึกคิดอยู่ก็เข้าไม่ถึง
ที่จะเข้าถึงต้องทำให้รู้ตรึก นึกรู้คิดนั้น หยุดเป็นจุดเดียวกัน แต่พอหยุดก็ดับ แต่พอดับแล้วก็เกิด ถ้าไม่
ดับแล้วไม่เกิด ตรองดูเถิด ท่านทั้งหลาย นี้เป็นของจริง หัวต่อมีเป็นอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนดังนี้ ก็ไม่มี
ไม่เป็นเด็ดขาด”
“เออมันยากอย่างนี้นี่เอง ถึงไม่บรรลุกัน ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ ต้องรวมหยุด
เป็นจุดเดียวกัน เมื่อหยุดแล้วจึงดับ เมื่อดับแล้วจึงเกิด” 3
วิตกอยู่ดังนี้สักครู่ใหญ่ ก็กลัวว่าความมีความเป็นนั้นจะเลือนไปเสีย จึงเข้าที่ต่อไปใหม่ ราวสัก
สามสิบนาทีก็เห็นวัดบางปลาปรากฏเหมือนตัวเองไปอยู่ที่วัดนั้น แต่พอชัดดีก็รู้สึกตัวขึ้นมา จึงมีความรู้สึก
ขึ้นมาว่าจะมีผู้รู้ผู้เห็นได้ยากนั้น ในวัดบางปลานี้จะต้องมีผู้รู้ผู้เห็นได้แน่นอน จึงมาปรากฏขึ้นบัดนี้ ต่อแต่
นั้นมาก็คำนึงที่ไปสอนที่วัดนั้นอยู่เรื่อยๆ มาจนถึงออกพรรษารับกฐินแล้ว ก็ลาสมภารวัดบางคูเวียงไปสอน
ที่วัดบางปลา ราวสี่เดือน มีพระทำเป็นสามรูป คฤหัสถ์สี่คน นี้เริ่มต้นแผ่ธรรมกายของจริง ที่แสวงหาได้
มาจริงปรากฏอยู่จนบัดนี้ 4
1 วัดพระธรรมกาย, พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย (ม.ป.ท.),
(เอกสารเผยแพร่).
2 คมฺภีโร จาย์ ธมฺโม ทุทฺทโส ทรานุโพโธ สนฺโต ปณีโต อตกุกาวจโร นิปุโณ ปณฺฑิตเวทนิโย “ธรรมนี้เป็นสภาพลึก เห็น
ได้ยาก ตรัสรู้ได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต คิดเดาไม่ได้ ละเอียด เป็นวิสัยที่บัณฑิตพึงรู้” อ้างใน วโรพร, ตามรอยพระมงคล
เทพมุนี (หลวงปู่วัดปากน้ำ), หน้า10.
4
* วโรพร, ตามรอยพระมงคลเทพมุนี (หลวงปู่วัดปากน้ำ), หน้า 50.
- วัดพระธรรมกาย, พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย (มปท.),
(เอกสารเผยแพร่),
78 DOU เครือข่ายองค์กร กัลยาณมิตร