การบำเพ็ญบารมีในพระพุทธศาสนา DF 303 เครือข่ายองค์กรกัลยาณมิตร หน้า 119
หน้าที่ 119 / 128

สรุปเนื้อหา

พระธรรมเทศนานี้นำเสนอการบำเพ็ญบารมีทั้ง 10 ประการตามหลักพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการเสริมสร้างความรู้ ความกล้าหาญ อดทน และการตั้งจิตให้มั่นคง เป็นการพัฒนาตนเองเพื่อความดี โดยอาจมีการยกอุปมาจากพระสูตรต่างๆ ที่แสดงถึงความสำคัญของการบำเพ็ญบารมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลสูงสุด จนถึงระดับปรมัตถบารมี ซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยสำคัญคือการมีจิตเมตตาและความเป็นกลางในทุกสถานการณ์

หัวข้อประเด็น

-ปัญญาบารมี
-Wiriyabārāmi
-ขันติบารมี
-สัจจบารมี
-อธิษฐานบารมี
-เมตตาบารมี
-อุเบกขาบารมี
-การบำเพ็ญบารมีในพระพุทธศาสนา
-พระโพธิสัตว์
-ธรรมะและการปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ปัญญาบารมี เป็นการแสวงหาความรู้เพื่อทำลายอวิชชา เริ่มต้นจากการแสวงหาความรู้จากผู้มี ความรู้ต่างๆ เป็นสุตมยปัญญา มาถึงการพิจารณาไตร่ตรองทดลองด้วยตนเอง เป็นจินตมยปัญญา และ สุดท้ายคือการเจริญสมาธิภาวนา เป็น ภาวนามยปัญญา วิริยบารมี คือ ความเพียรพยายามในการทำความดี และความกล้าต่อการแก้ไขปรับปรุงตนเอง ทั้งการละเว้นความไม่ดีที่เคยทำมาแล้ว และการกล้าพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ขันติบารมี เป็นความอดทนที่จะชำระกิเลสในตัว รักษาใจให้เป็นปกติ ไม่หวั่นไหวในอุปสรรค ปัญหาที่เกิดขึ้น และไม่หลงในคำสรรเสริญอันจะเป็นเหตุให้เกิดความหลงตนเอง คือพยายามมีความหนัก แน่นมั่นคงทั้งจากคำนินทาและสรรเสริญ สัจจบารมี เป็นความตั้งใจมั่นที่จะไม่ออกนอกเส้นทางการทำความดี เนื่องจากเมื่อปฏิบัติตนตาม บารมีข้างต้นแล้ว มีความรู้ความสามารถและเกิดลาภสักการะขึ้น อาจเป็นเหตุให้ใจหวั่นไหวออกนอกเส้น ทางการทำความดีที่ตั้งใจไว้ จึงต้องบำเพ็ญ สัจจบารมีประกอบไปด้วย อธิษฐานบารมี คือการตั้งจิตมั่นในการทำความดี แม้ว่าจะต้องพบกับอุปสรรคมากมายเพียงใด ก็ ไม่หวั่นไหว อุปมาเหมือนภูเขาที่ตั้งมั่นไหวหวั่นไหวต่อแรงลม เมตตาบารมี คือการตั้งจิตเมตตาต่อทั้งคนชั่ว และคนดี โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เป็นการ กระทำตนให้น่าเข้าใกล้ อุเบกขาบารมี คือการฝึกตนไม่ให้เกิดความลำเอียงทั้งด้วยความพอใจ ความโกรธ ความหลง หรือ ความกลัว ท่านกล่าวว่า บารมีข้อนี้จัดเป็นบารมีข้อสำคัญต่อการปฏิบัติธรรม เพราะการปฏิบัติธรรมคือ การ วางใจเป็นกลางๆ “เพื่อจะได้หยุดเป็นจุดเดียวกัน” โดยภาพรวมแล้ว พระธรรมเทศนานี้ เป็นการนำพระสูตร ทีปังกรพุทธวงศ์ มาบรรยาย โดย ขยายความถึงเหตุผลในการที่คนเราทุกคนจะต้องบำเพ็ญบารมีทั้ง 10 ประการ ตามแบบอย่างของพระโพธิสัตว์ พร้อมทั้งยกอุปมาที่มีอยู่ในพระสูตรนั้นประกอบ เพื่อแสดงให้เห็นว่า การบำเพ็ญบารมีนั้น จะต้องกระทำ ต่อเนื่องกันไป จนกระทั่งสามารถกระทำหรือตั้งจิตที่จะกระทำจนถึงระดับปรมัตถบารมี 8.1.2 พระธรรมเทศนา เรื่อง การบำเพ็ญบารมี ในพระธรรมเทศนานี้ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ท่านได้อธิบายแนวคิดเรื่อง บารมี ซึ่งคุณสรกานต์ ศรีตองอ่อนได้สรุปความในลักษณะของคำถาม-คำตอบ ได้ดังนี้ ก) การบำเพ็ญบารมี เป็นเรื่องของพระโพธิสัตว์เท่านั้นหรือไม่ พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว), การบำเพ็ญบารมี (เทปบันทึกเสียง), มูลนิธิธรรมกาย : มูลนิธิธรรมกาย, 2537. 110 DOU เครือข่ายองค์กร กัลยาณมิตร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More