ประวัติการสร้างวัดพระธรรมกาย DF 303 เครือข่ายองค์กรกัลยาณมิตร หน้า 94
หน้าที่ 94 / 128

สรุปเนื้อหา

พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) ได้เล่าถึงประวัติการสร้างวัดพระธรรมกายซึ่งเริ่มต้นจากศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม โดยมีวัตถุประสงค์ในการอบรมศีลธรรมให้แก่ประชาชน สร้างความสงบสุขและเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา การสร้างวัดได้เริ่มต้นจากความตั้งใจจริงของคณะผู้บุกเบิกที่ต้องการให้วัดเป็นที่ประพฤติปฏิบัติธรรมที่สะอาดและสงบ สำหรับผู้ที่สนใจในศีลธรรม พระภิกษุ และประชาชนที่เข้ามาปฏิบัติธรรมมหาศาล สมัยนั้นมีผู้คนมากมายมานั่งปฏิบัติธรรม และจำเป็นต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก และสถานที่สำหรับผู้ที่มาปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นวัดพระธรรมกายในปัจจุบัน

หัวข้อประเด็น

-ประวัติการสร้างวัดพระธรรมกาย
-จุดประสงค์ของวัด
-การอบรมศีลธรรม
-การสร้างคนดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จากศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรมมาเป็นวัดพระธรรมกาย ในขั้นต้นคณะผู้บุกเบิกได้สร้างสถานที่ปฏิบัติธรรมขึ้นก่อน ให้ชื่อว่า “ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม” ต่อมาจึงได้ยกฐานะจากศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรมขึ้นเป็นวัด ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ได้และให้ชื่อว่า “วัดวรณีธรรมกายาราม” เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 และเพื่อให้สอดคล้องกับการเผยแผ่ ธรรมปฏิบัติของวัด จึงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดพระธรรมกาย” เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2524 จุดประสงค์ในการสร้างวัดพระธรรมกาย ความตั้งใจแน่วแน่ของคณะผู้บุกเบิกสร้างวัด คือ การอบรมศีลธรรมแก่ประชาชน เพื่อสร้าง สันติสุขให้แก่ชาวโลก ได้กำหนดวัตถุประสงค์ ซึ่งถือว่าเป็นอุดมการณ์ของวัด 3 ประการคือ 1. สร้างวัดให้เป็นวัด คือเป็นวัดที่สะอาด สงบ ร่มรื่น สำหรับการประพฤติปฏิบัติธรรมของประชาชน 2. สร้างพระให้เป็นพระ คือ ฝึกอบรมพระภิกษุ ให้ถึงพร้อมด้วยศีลาจารวัตร และคุณธรรมภายใน เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา สามารถเป็นครูสอนศีลธรรมให้แก่ประชาชนได้ 3. สร้างคนให้เป็นคนดี คือสร้างคนดีมีศีลธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติและมีความมุ่งหวังให้วัดพระธรรมกาย เป็นโรงเรียนสอนศีลธรรมให้กับประชาชน สร้างคน สร้างวัด พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) ได้เล่าถึงประวัติการสร้างวัดจนถึงปัจจุบันว่า “ในการสร้างวัดมีคุณยายท่านเป็นหลักเป็นประธาน และนอกนั้นเป็นทีมงานสร้างวัดกันตั้งแต่ท้องไร่ ท้องนา ตอนแรกคิดว่าจะมีเพียง 21 รูปเท่านั้น พอทำสังฆกรรมได้ โดยเฉพาะอยู่ในปริวาสกรรม ต้องมี สงฆ์ 21 รูป คิดไว้แค่นั้น แล้วก็สร้างกุฏิในวัดกระจายเป็นหลังๆ ต่อมาก็เริ่มทยอยกันบวชเรื่อยๆ หลวงพ่อ ก็สอนธรรมไป ญาติโยมก็มานั่งกันโคนต้นไม้ กลางแดดก็มี อยู่ใต้เต๊นท์ ใต้กลดบ้าง และมีคนสนใจมา ปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้น แต่เดิมญาติโยมเข้าใจว่าการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องของพระ ของนักบวช แต่พออธิบาย ว่าการปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว มีความจำเป็นและสำคัญยิ่งของมนุษย์ทุกคนในโลก จะเป็นพระหรือฆราวาสก็เริ่มตื่นตัวมาสนใจนั่งสมาธิ ญาติโยมมามากจนกระทั่งเห็นเขานั่งกลางแดด ทนไม่ไหวเลยต้องสร้างศาลาจาตุมหาราชิกา ซึ่งจุได้ 500 คน สอนไปสอนมาญาติโยมเห็นว่าดีก็ไปชวนกันมาปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว เรามีที่นั่งได้ 500 ที่นั่ง แต่มาวัดกัน 7,000 คน ที่เหลือต้องนั่งตากแดดกันอยู่อย่างนั้น ร่มไม้ไม่ค่อยมี เห็นแบบนั้น จึงสร้างสภาธรรมกายสากลหลังคาจาก (จุได้ 10,000คน) เราสร้างตามความจำเป็นของผู้ที่มา จากนั้นก็ มูลนิธิธรรมกาย, 29 ปี แห่งการสร้างคนดี วัดพระธรรมกาย, หน้า 19. บ ท ที่ 6 วัดกัลยาณมิตร... DOU 85
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More