ข้อความต้นฉบับในหน้า
ที่จะพบคุณยาย เพื่อตอบคำถามที่มีขึ้นในใจของท่านว่า “คนเราเกิดมาทำไม มาจากไหน ตายแล้วจะไปไหน
เป้าหมายชีวิตคืออะไร 1
เมื่อหลวงพ่อมาพบคุณยาย และได้ปฏิบัติธรรมต่อเนื่อง จนเห็นคุณค่าของธรรมปฏิบัติ ทำให้ได้
คำตอบที่สงสัยมานานอย่างชัดเจนคือรู้ว่าคนเราเกิดมาทำไม เป้าหมายชีวิตคืออะไร ทั้งยังทำให้ไปพระนิพพาน
ได้ช่วยมนุษย์ให้พ้นทุกข์ได้ เมื่อปฏิบัติธรรมมากเข้า ความตั้งใจในการประพฤติพรหมจรรย์ตลอดชีวิตก็เกิดขึ้น
ภายหลังเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ท่านจึงอุปสมบทด้วยปณิธานมั่นว่าจะประพฤติพรหมจรรย์ตลอดชีวิต เพื่อ
อุทิศให้แก่การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยไม่ลาสิกขา ในปี พ.ศ. 2512
ปณิธานของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย)
“เมื่อหลวงพ่อได้บวชอุทิศชีวิตแก่พระพุทธศาสนาแล้วก็มีความตั้งใจว่า จะนำพระธรรมคำสั่งสอน
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาอบรมสั่งสอนปลูกฝังคุณธรรมลงในจิตใจของเหล่าสาธุชน โดยไม่เลือกเพศ เลือก
วัย เลือกเชื้อชาติ เพื่อให้ทุกคนมีศรัทธาในพระพุทธศาสน และมีโอกาสปฏิบัติธรรมให้ได้เข้าถึงธรรมะภายใน
ได้พบความสุขที่แท้จริง และมีพระธรรมกายเป็นที่พึ่งของชีวิต นี่คือความปรารถนาลึกๆ ที่อยู่ในใจของ
หลวงพ่อตลอดเวลา”
เมื่อได้ปฏิบัติธรรมจนหลวงพ่อธัมมชโย เกิดประสบการณ์ภายในอันละเอียดลึกซึ้ง ด้วยตนเองแล้ว
ท่านกล่าวว่า
“ธรรมทั้งหมดนี้มีอยู่แล้วในตัวของเรา ไม่ใช่เป็นเรื่องนอกตัว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงนำ
เอาเรื่องในตัวที่ท่านได้เข้าถึงมาแนะนำสั่งสอน เปิดเผยให้เราได้ทราบ ให้เราได้เข้าถึงความเป็นจริงของชีวิต
เข้าถึงในสิ่งที่มีอยู่แล้ว
ไม่ว่าจะมีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม แสงสว่าง ดวงธรรมภายใน กายภายใน มีอยู่แล้ว
ในตัวเรา ไม่ได้เป็นนิมิต ไม่ใช่สิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นมา แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในกลางกายของมนุษย์ทุกคน ไม่ว่า
เชื้อชาติไหน ภาษาไหน หรือนับถือศาสนาใด ต่างแต่ว่าใครจะมีความรู้ได้กว้างไกล หรือเข้าถึงได้แค่ไหน
เท่านั้น ใครเข้าถึงแค่ไหนก็รู้จักในสิ่งที่ตนเข้าถึง สิ่งที่ตนยังไม่เข้าถึง เขาก็ยังไม่รู้จัก เพราะฉะนั้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านจึงนำสิ่งที่มีอยู่แล้วที่ไม่เคยมีใครเข้าถึงในยุคของท่านมาเปิดเผย ให้ทุกคนได้รู้จัก
ได้เข้าถึง ได้หลุดพ้น และเกิดญาณหยั่งรู้ ได้เข้าถึงความสมบูรณ์ของชีวิตเช่นเดียวกับพระองค์”
1
2
3
เมื่อบวชเป็นพระภิกษุแล้ว หลวงพ่อธัมมชโย ก็เริ่มทำหน้าที่สอนการปฏิบัติธรรมแทนคุณยาย
มูลนิธิธรรมกาย, 20 ปีวัดพระธรรมกาย, พิมพ์ครั้งที่ 4, (กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, 2533), หน้า 46.
เรื่องเดียวกัน, หน้า 61.
พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย), พรรษาวิสุทธิ์, (กรุงเทพฯ : ฟองทองเอนเตอร์ไพรส์, 2544), หน้า 77.
บ ท ที่ 6 วัดกัลยาณมิตร... DOU 83