ข้อความต้นฉบับในหน้า
8.2.2 คำขวัญ “เราเกิดมาสร้างบารมี ธรรมกายคือเป้าหมายชีวิต”
พระภาวนาวิริยคุณอธิบายโดยสรุปว่า เป้าหมายชีวิตของคนเราคือหมดกิเลสเข้านิพพาน ซึ่งคือ
การบรรลุธรรมกายเป็นขั้นๆ ไป จนกระทั่งบรรลุธรรมกายอรหัต ซึ่งการบรรลุได้จะต้องสร้างบารมีไปตาม
ลำดับ เพราะเมื่อมีบารมีมากเข้าๆ แล้ว เหยื่อล่อคือการติดอยู่ในภพ ก็จะทำอะไรไม่ได้ ซึ่งความตอนนี้ เพื่อ
ความชัดเจน คุณสรกานต์ ศรีตองอ่อน ได้ยกคำกล่าวของท่านส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์มาดังนี้
“เกิดมาสร้างบารมี จากสิบเหลือสาม สร้างบารมีไปทำไม อย่างน้อยก็ไปเอาธรรมะเบื้องต้นมา
เรียกว่าธรรมกายก็ได้ ไปเอามา เมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้ว อย่างอื่นเดี๋ยวจะได้ไปเองยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะเมื่อ
บารมีทั้ง 10 ทัศแก่กล้าดีแล้ว นี้คือฐานที่จะทำให้มรรคมีองค์แปดสมบูรณ์ เพราะบอกว่า บารมีทั้ง 10 ประการ
ที่ย่อมาแล้วเหลือสาม จริงๆ ก็คือ การปฏิบัติมรรคมีองค์แปดเบื้องต้นนั่นเอง
มรรคมีองค์แปดมีอะไร ไล่ตั้งแต่สัมมาทิฏฐิ จนถึงสัมมาสมาธิ พอย่อเสร็จแล้วเหลือ ศีล สมาธิ
ปัญญา แล้วจะหนีไปไหนกับ ทาน ศีล ภาวนา ก็ตัวเดียวกันนั้นแหละ เพียงแต่เบื้องต้นกับเบื้องปลาย เมื่อ
เบื้องต้นเราได้ เดี๋ยวมรรคมีองค์แปดเราก็ได้ มรรคมีองค์แปดได้ ทำไมธรรมะเราจะไม่ได้ แน่นอน มรรคมี
องค์แปดก็มีแก่กล้ากันไปตามลำดับๆ บารมีขนาดนี้ก็จะได้มรรคมีองค์แปดระดับนี้ เมื่อมรรคมีองค์แปดระดับนี้
ก็พอจะได้ธรรมะระดับนี้ เช่น ได้โคตรภูบุคคล ถ้าบารมีแก่ขึ้น มรรคมีองค์แปดแก่กล้าขึ้น มันก็เกินจาก
โคตรภูบุคคล เข้าสู่พระโสดาบัน มันก็ไปตามลำดับชั้นของมัน เพราะฉะนั้น ธรรมกายเป้าหมายชีวิตใช่
เกิดมาสร้างบารมีใช่ ส่วนธรรมกายคืออะไร ไปดูซะว่าธรรมะคืออะไร”
ในที่นี้ คุณสรกานต์ ศรีตองอ่อน ได้สรุปว่า การสร้างบารมีคือวิธีการที่เป็นพื้นฐานต่อการปฏิบัติ
มรรคมีองค์แปด ส่วน ธรรมกาย คือผล
8.2.3 การสอนและฝึกบุคลากรภายในวัด กับสาธุชนภายนอกวัด มีความแตกต่างกันหรือไม่
ต่อคำถามนี้ ท่านได้กล่าวว่าความจริงแล้วขึ้นอยู่กับบุคคล เพราะในสมัยพุทธกาลก็มีพระโสดาบัน
อยู่หลายท่านที่ไม่ได้บวช เช่น นางวิสาขา อนาถบิณฑิกะเศรษฐี พระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น แต่โดยภาพรวม
แล้ว สาธุชนภายนอกโดยทั่วไป ยังมีห่วงอยู่มากในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องครอบครัว เรื่องทำมาหากิน ซึ่ง
ทำให้การสร้างบารมี ทำได้ในระดับหนึ่ง
แต่การมาอยู่ที่วัด อุบาสก อุบาสิกา ก็ถือศีลแปด บวชเป็นพระ เป็นเณร ก็ปฏิบัติตามพระวินัย
ไม่มีห่วงมากเหมือนบุคคลภายนอก ก็ทำให้เบาใจ มีโอกาสฝึกตัวได้มาก และเมื่ออยู่เป็นหมู่คณะ ท่านใช้
คำว่า “พลังสามัคคีจะช่วยดึงให้ใจอยู่ในบุญ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีอยู่ตลอดเวลา” ทำให้มีโอกาสสร้างบารมีให้ยิ่งๆ
ขึ้นไป แต่ก็ขึ้นอยู่กับวิริยะของแต่ละบุคคลด้วย อย่างไรก็ตาม เนกขัมมบารมีก็จะได้ไปโดยปริยาย และ
เนื่องจากกิจวัตรประจำวันที่ล็อคไว้ คือ เช้ามืดลุกขึ้นมาไหว้พระ ทำสมาธิ กลางวันทำงานที่มีในวัด พร้อมๆ
กับรักษาใจไปด้วย ความก้าวหน้าของบารมีก็จะมีมากขึ้น
116 DOU เครือข่ายองค์กร กัลยาณมิตร