ข้อความต้นฉบับในหน้า
หมดไป
สัจจะ คือ ความจริงใจต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เพื่อเป็นการแก้ไขนิสัยโลเลให้
อธิษฐาน คือ ความตั้งใจมั่นอย่างเด็ดเดี่ยว วางเป้าหมายในการทำความดีไว้อย่างแน่วแน่มั่นคง
ไม่ออกนอกเส้นทางที่วางไว้นั้น มีคำอธิบายเพิ่มเติมว่า สัจจบารมีจะอยู่คู่กับอธิษฐานบารมี คือ เมื่อตั้งเป้า
หมายไว้แล้วต้องทำให้จริง
เมตตา คือ การสร้างความน่าเข้าใกล้ให้กับผู้คนรอบข้าง อุปมาดั่งสายน้ำในแม่น้ำ ที่แผ่ความ
เย็นไปเสมอกันทุกหนทุกแห่ง
อุเบกขา คือ ความวางใจให้เป็นกลาง สงบ ราบเรียบ อุปมาดั่งแผ่นดิน ย่อมวางเฉยทั้งในของที่
สะอาดและไม่สะอาด
พระภาวนาวิริยคุณท่านสรุปสั้นๆ อีกว่า บารมีเปรียบเสมือน “เสาค้ำใจ”
จ) ความสำคัญของบารมี กับ ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด และธรรมกาย
สำหรับหัวข้อนี้ ดูจะเป็นการขยายความในแนวทางของวัดพระธรรมกาย หรือกล่าวโดยรวมได้ว่า
สำนักธรรมกาย โดยเฉพาะ คือ ท่านกล่าวว่า การบำเพ็ญบารมีทั้ง 10 ทัศ จะช่วยให้ตะล่อมใจเข้าสู่
ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ดได้ง่าย ซึ่งศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ดและฐานที่ตั้งอื่นๆ ของใจ ตามแนวทางของ
สํานักธรรมกาย แสดงดังภาพ
2
1
ภาพจาก พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว), พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ (กรุงเทพฯ : นฤมิต โซล(เพรส),
2546), หน้า 337.
112 DOU เครือข่ายองค์กร กัลยาณมิตร