การศึกษาบริบทเปรียบเทียบรูปแบบของพัฒนาจิตของกรรมฐาน 5 สายในสังคมไทย การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการพัฒนาจิตของกรรมฐาน 5 สายในสังคมไทย หน้า 18
หน้าที่ 18 / 49

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอการศึกษารูปแบบการพัฒนาจิตของกรรมฐานในประเทศไทย ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 สาย ได้แก่ สายพุทธ, สายอานาปานสติ, สายพองหนอ-ยูหนอ, สายรูปนาม, และสายสมามะระหัง โดยเฉพาะสายพุทธที่มีการปฏิบัติที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งได้รับอิทธิพลจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต การปฏิบัติของสายนี้เน้นการปรับจิตใจและพัฒนาทางธรรมโดยใช้วิธีการเดินจงกรมและนั่งสมาธิ เพื่อให้บรรลุถึงมรรคผลทางธรรมทางที่นำแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติตามแนวทางที่แตกต่างกันไปในแต่ละสายของกรรมฐาน

หัวข้อประเด็น

-การพัฒนาจิต
-กรรมฐานในประเทศไทย
-สายกรรมฐาน
-การปฏิบัติธรรม
-การเจริญภาวนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การศึกษาบริบทเปรียบเทียบรูปแบบของพัฒนาจิตของกรรมฐาน 5 สายในสังคมไทย A Comparative study on Patterns of Mind Development of Five Meditation Lineages in Thai Society 2. รูปแบบการพัฒนาจิตของกรรมฐานครั้งในสังคมไทย การปฏิบัติธรรมในประเทศไทยในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกเป็น 5 สายกรรมฐาน ซึ่งมีความแตกต่างหลายด้าน ได้แก่ สายพุทธสายอานาปานสติ สายพองหนอ-ยูหนอ สายรูปนาม และสายสมามะระหัง โดยในแต่ละสายมีรูปแบบในการปฏิบัติจิต ดังต่อไปนี้ 1. การปฏิบัติสายพุทโธ หรือที่รู้จักกันว่าเป็นแนวปฏิบัติของพระป่า ที่อาศัยการปฏิบัติติดต่อกัน4 ซึ่งเรียกว่าเป็นพระกรรมฐาน20 การปฏิบัติสายนี้แพร่หลายในหมู่พระภิกษุ ซึ่งได้รับการยกย่องและมีชื่อเสียง ปรากฏอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงมีการเรียสายพุทโธนี้ว่าสายดงกรรมฐานครั้ง หรือหากเรียกตามชื่อของพระอาจารย์ที่เป็นต้นกำเนิดที่ทำให้รูปแบบการปฏิบัติสายนี้แพร่หลาย ก็จะเรียกว่าเป็นสายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต22 มีวิธีการในการฝึกด้วยการกำหนดลมหายใจคู่กับคำวานาพุทโธในขั้นมี และมีกำหนดแยกภาคตนในขั้นวิปัสสนา ใช้รูปแบบการเดินจงกรมและนั่งสมาธิ โดยมีเป้าหมายมุ่งปฏิบัติ เพื่อมรรคผลเกิดขึ้น โดยเน้นเป็นการสอนพระภิกษุซึ่งจะปฏิบัติตามวัตร 14 ประการ เน้นดูดวงวัตร เพื่อการทรงงานกิเลส อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ตัดขาดจากทางโลก โดยใช้วิธีการสอนแบบแนะนำให้ตรงจริต และไปปฏิบัติตนเอง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More