การฝึกสมาธิและการตั้งจิต เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2 หน้า 282
หน้าที่ 282 / 304

สรุปเนื้อหา

การฝึกสมาธิและการตั้งจิตที่ศูนย์กลางกายเป็นวิธีการที่ช่วยให้เข้าถึงพระธรรมกายได้โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดลมหายใจ ในทุกอิริยาบถควรตั้งจิตไว้ที่ศูนย์กลางและประคองด้วยบริกรรมภาวนา นิมิตที่เกิดขึ้นในขณะที่ฝึกสมาธิสามารถนำกลับไปที่ศูนย์กลางกาย โดยไม่ต้องตามหาหากหายไป เมื่อจิตสงบจะเกิดนิมิตใหม่ขึ้นอีก การฝึกอย่างสม่ำเสมอส่งผลให้มีความสุขและช่วยรักษาดวงปฐมมรรคซึ่งเป็นหลักประกันในชีวิตภายใต้ศีลธรรมที่ดี

หัวข้อประเด็น

- การฝึกสมาธิ
- การตั้งจิต
- ศูนย์กลางกาย
- นิมิต
- วิปัสสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๒๘๐ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม จนกระทั่งเข้าถึง พระธรรมกายแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาในภายหลัง ดังนั้น จึงไม่มีความจําเป็นต้องกําหนดลมหายใจเข้าออกแต่ ประการใด ๔. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ ศูนย์กลางกายที่เดียว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืน เดิน นอน หรือนั่ง อย่าย้ายฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่ อื่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจบริกรรมภาวนา พร้อมกับนึก ถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใสควบคู่กันตลอดไป ๕. นิมิตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ ศูนย์กลางกายทั้งหมด ถ้านิมิตเกิดขึ้นแล้วหายไป ก็ ไม่ต้องตามหา ให้ภาวนาประคองใจต่อไปตามปกติ ในที่สุดเมื่อจิตสงบ นิมิตย่อมปรากฏขึ้นใหม่อีก การฝึกสมาธิเบื้องต้นเท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดความสุขได้ เมื่อซักซ้อมปฏิบัติอยู่ เสมอ ๆ ไม่ทอดทิ้ง จนได้ดวงปฐมมรรคแล้ว ก็ให้ หมั่นประคองรักษาดวงปฐมมรรคนั้นไว้ตลอดชีวิต ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ย่อมเป็นหลักประกันได้ว่า น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More