นอกรอบและการเข้าถึงพระธรรมกาย เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 2 หน้า 133
หน้าที่ 133 / 304

สรุปเนื้อหา

การทำกิจกรรมหยาบที่เราเรียกว่า 'นอกรอบ' จะต้องนึกเห็นภาพในใจ เพื่อให้จิตมีที่ตั้งและรู้สึก 'มีอยู่' โดยเชื่อมโยงกับศูนย์กลางกาย ฐานที่ ๗ เพื่อทำให้สามารถทำงานพร้อมกันได้ การฝึกฝนและการมีฉันทะจะช่วยให้เข้าถึงพระธรรมกายได้เป็นธรรมชาติ.

หัวข้อประเด็น

-ความเข้าใจใน 'นอกรอบ'
-การฝึกจิตเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย
-ความสำคัญของศูนย์กลางกาย
-การทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๔๕๙ นอกรอบ เวลาเราไปทำกิจกรรมหยาบ ที่เราใช้คำว่า “นอกรอบ” เราต้องนึกเป็นภาพไว้ในกลางตัว ไม่อย่างนั้นใจจะไม่มีที่ยึดที่เกาะ หรืออย่างน้อยทําความรู้สึกว่า “มีอยู่” คือ มีดวง - มีองค์พระอยู่ในตัว แม้ไม่เห็น ใจจะได้คลอเคลียกับศูนย์กลางกาย ฐานที่ ๗ และก็ทําควบคู่ไปกับการทํางาน อาจจะหลุดบ้าง ติดบ้าง ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่ว่าจะค่อย ๆ ทำได้ กระทั่งเป็นธรรมชาติโดยอัตโนมัติ ดังนั้น ต้องอาศัยการฝึกฝน มีฉันทะ มีใจรัก สมัครใจที่จะเข้าถึงพระธรรมกาย ตรงนี้สำคัญ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ๑๓๑
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More