สาระสำคัญพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับโพชฌงค์ ๗ ประการ ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๓๑-๔๕ หน้า 22
หน้าที่ 22 / 44

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับโพชฌงค์ ๗ ประการ ที่มีความสำคัญในพระธรรมเทศนา อธิบายถึงการรักษาสติและความดีในใจ เพื่อให้บรรลุถึงความรู้และนิพพาน. การระบุความสำคัญของสติสัมโพชฌงค์ การทำใจให้หยุด และการรักษาความปีติเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาธรรมะ. เนื้อหาแนะนำวิธีการทำให้ใจบริสุทธิ์และมั่นคง โดยมีความตั้งใจเพื่อการบรรลุธรรม.

หัวข้อประเด็น

-โพชฌงค์ ๗ ประการ
-การเจริญธรรม
-ความบริสุทธิ์ของใจ
-สติสัมโพชฌงค์
-การรักษาสมาธิ
-ความปีติและปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

130 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา หรือความบริสุทธิ์ของสมาธิมีอยู่ก็ยกความบริสุทธิ์ของสมาธิขึ้นพูด ขึ้นอธิษฐาน หรือแม้ว่าความจริงของปัญญามีอยู่ ก็ยกความจริงของปัญญานั้นขึ้นอธิษฐาน หรือความสัตย์ความจริง ความดีอันใดที่ทำไว้แน่นอนในใจของตัว ให้ยกเอาความดี อันนั้นแหละขึ้นอธิษฐานตั้งอกตั้งใจ บรรลุความติดขัดทุกสิ่งทุกประการ ในโพชฌงคปริตร พระบรมศาสดาทรงรับสั่งถึงโพชฌงค์ ๗ ประการ โดยกล่าวไว้เป็นบทต้น โพชฌงค์ ๗ ประการ อันพระมุนีผู้เห็นธรรมได้กล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญธรรมให้มาก แล้ว (กระทำให้มากขึ้น) ย่อมเป็นไปพร้อม อภิญฺญาย เพื่อความรู้ยิ่ง นิพพานาย เพื่อนิพพาน โพธิยา เพื่อ ความตรัสรู้ ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ โพชฌงค์ ๗ ประการ ได้แก่ ๑. สติสัมโพชฌงค์ เราต้องไม่เผลอสติ “เอาสตินิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ตั้งสติตรงนั้นทำใจ ให้หยุด ไม่หยุดก็ไม่ยอม ทำให้หยุดไม่เผลอทีเดียว ทำจนกระทั่งใจหยุดได้ นี่เป็น ตัวสติสัมโพชฌงค์แท้ๆ” ทำจนใจหยุดไม่เผลอจากที่ตั้งของดวงธรรมที่ศูนย์กลาง กายเลย ทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน จะตรัสรู้ก็เพราะมีสติอยู่ก่อน ๒. ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เมื่อใจหยุดก็สอดส่องดูว่า ความดีความชั่ว เล็ดลอดเข้ามาอย่างไร ความดีความชั่วลอดเข้ามา ก็ทำใจให้หยุด ไม่กังวล ไม่ห่วงใย ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ เพียรรักษาใจหยุดนั้นไว้ไม่ให้หาย ไม่ให้เคลื่อน ไม่เป็นไปตามความยินดี ยินร้าย อันเป็นอภิชฌา โทมนัส หมั่นหยุดไม่ให้อารมณ์นั้นเล็ดลอดเข้าไปในใจได้ “เพราะฉะนั้นต้อง มีความเพียรกลั่นกล้า รักษาไว้ให้หยุดท่าเดียว” ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ เมื่อใจหยุดเกิดความปีติ ปีติไม่เคลื่อนจากหยุดเลย หยุดนิ่งอยู่นั่น ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิ แปลว่า ระงับซ้ำ หยุดในหยุดๆๆ ไม่มีถอย พอหยุดก็เข้า กลาง ของใจที่หยุด หยุดในหยุด หยุดในหยุด ซ้ำเรื่อยลงไป ให้แน่นหนาไม่คลาดเคลื่อน 5. สมาธิสัมโพชฌงค์ มั่นคง อยู่ที่ใจหยุดไม่เป็นสอง ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ พอสมาธิหนักเข้าๆ หนึ่งเฉยไม่มีสองต่อไป “นี่องค์คุณ ๗ ประการอยู่ทีเดียวนี่ อย่าให้เลอะเลือนไป ถ้าได้ขนาดนี้ ภาวิตา พหุลีกตา กระทำเป็นขึ้นแค่นี้กระทำให้มากขึ้น สวตฺตนฺติ ย่อมเป็นไปพร้อม อภิญฺญาย เพื่อรู้ยิ่ง นิพฺพานาย เพื่อสงบระงับ โพธิยา เพื่อความตรัสรู้ ด้วยการ กล่าวสัตย์ อันนี้แหละ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านในทุกกาลทุกเมื่อ “รักษาโพชฌงค์เป็นแล้ว อธิษฐานใช้ได้ ทำอะไรใช้ได้ โรคภัยไข้เจ็บแก้ได้ ไม่ต้องไปสงสัยละ”
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More