ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 147
๔๔
สุขที่สัตว์ปรารถนาจะพึงได้
(สละสุขน้อยสู่สุขมาก)
๑๙ กันยายน ๒๔๙๗
นโม.....
มตตาสุขปริจจาคา.......
มนุษย์ทั้งหลายแม้สัตว์เดียรัจฉาน ล้วนแสวงหาความสุข หลีกเลี่ยงจากทุกข์ แต่ผู้แสวงหาเป็น
เท่านั้นจึงจะพบสุขยิ่งใหญ่ไพศาล สุขอันนี้ พระบรมศาสดาทรงรับสั่งด้วยพระองค์เอง เพื่อให้สัตว์แสวงหา
สุขยิ่งขึ้นไป โดยละสุขเล็กน้อยเสีย
มตตาสุขปริจจาคา ฯ ถ้าบุคคลพึงเห็นสุขอันไพบูลย์เพราะละสุขอันน้อยเสีย หรือเพราะ
ละสุขพอประมาณเสีย ผู้มีปัญญาเมื่อเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็พึงละ
สุขพอประมาณเสีย
สุขเล็กน้อย กับ สุขไพบูลย์ จึงเป็นใจความในพระคาถานี้
ความสุขมีเป็นลำดับขั้น ตั้งแต่
-
- สุขเล็กน้อยของมนุษย์
สุขเทวดา 5 ชั้น (สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สุขกว่าชั้นจาตุมหาราชิกา)
- พรหม ๑๖ ชั้น (พรหมปุโรหิตา สุขกว่าพรหมปาริสัชชา)
อรูปพรหม ๔ ชั้น (วิญญานัญจายตนฌาน สุขกว่าอากาสานัญจายตนฌาน)
นิพพาน (ในนิพพานก็ยังมีสุขละเอียดเป็นชั้นๆ เข้าไปอีก)
ละสุขอันน้อยเป็นอย่างไร ?
สุขอันน้อย คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชอบใจทั้งหมด มีอยู่ชั่วขณะหนึ่ง ก็ต้องแตกกาย
ทำลายขันธ์ ตกเป็นของคนอื่นต่อไป
ทรัพย์
ยินดีในรูป เช่น ยินดีในรูปสมบัติตนเอง ทั้งเงินทองข้าวของ วิญญาณกทรัพย์ อวิญญาณก
ยินดีในเสียง เช่น เสียงยกย่อง สรรเสริญ ที่เป็นโลกธรรม ทำให้เพลินอยู่ในโลก เป็นทุกข์
ยินดีในกลิ่น เช่น กลิ่นหอมเครื่องปรุง
ยินดีในรส
เช่น รสชาติอาหาร
ยินดีในสัมผัส เช่น การถูกตัว
๕ อย่างนี้ ทำให้สัตว์จมอยู่ในวัฏฏสงสาร ต้องติดอยู่ในภพ
๓
เมื่อละสุขน้อยทั้ง ๕ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ได้แล้ว ก็ต้องละสุขที่สูงขึ้นเป็นลำดับไป
คือ