ความสำรวมระวังในพระพุทธศาสนา ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๓๑-๔๕ หน้า 29
หน้าที่ 29 / 44

สรุปเนื้อหา

การมีความสำรวมระวังเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้บุคคลประพฤติดีและสามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตักเตือนว่าหากไม่มีความสำรวมก็ไม่สามารถหลุดพ้นจากวัฏฏะทั้งสามได้ นอกจากนี้ยังจะพบว่าผู้ที่ไม่มีความสำรวมมักถูกมารรังควานและเข้าใจผิดในการบริโภคอารมณ์ที่ดีต่างๆ ซึ่งทำให้ติดอยู่ในวัฏฏะ การควบคุมอินทรีย์ทั้ง 5 และการประมาณในการบริโภคเป็นกุญแจสำคัญในการหลุดพ้น

หัวข้อประเด็น

-ความสำรวมระวัง
-มรรคผลนิพพาน
-อินทรีย์ทั้ง 5
-การบริโภค
-วิปากวัฏฏ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อยู่ใน วัฏฏ์) พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 137 do สังวรคาถา (ความสำรวมระวัง) ๓๐ กรกฎาคม ๒๔๙๗ นโม..... สุภานุปสฺส วิหรนต์..... บุคคลมีความสำรวมระวัง ย่อมประพฤติดีได้ จนถึงขั้นบรรลุมรรคผลนิพพานทีเดียว พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงตักเตือนบุคคลทั้งหลายว่า ถ้าแม้ว่าปราศจากความสำรวมระวังแล้ว จะไปสู่มรรคผลนิพพานไม่ได้ ต้องเวียนว่ายตายเกิด - ๓ ภพ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ) และพ้นจากวัฏฏะทั้งสามไม่ได้ (วิปากวัฏฏ กรรมวัฏฏ กิเลส- ดังพระบาลี สุภานุปสฺสี วิทรนต์ อินทริเยสุ อสวุฒิ ฯ แปลได้ความโดยย่อว่า มารย่อมรังควานบุคคลนั้นได้ คือ ผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ ผู้เห็นตามซึ่งอารมณ์อันงาม ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค จมอยู่ด้วยอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด มีความเพียรเลวทราม ผู้สํารวมไม่ได้เป็นอย่างไร ? คือ ผู้ที่เห็นตามอารมณ์ที่งามอยู่ ชอบใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่เรียกว่าโผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์ที่เกิดกับใจ ทำให้เกิดความเพลิดเพลินในเรื่องอารมณ์ที่ชอบใจนั้นๆ เรื่อยไป ไม่อยากทิ้ง ไม่อยากห่างไป เหมือนนกกระเรียนตกเปือกตมเพลินอยู่ในสัมผัสนั้น ทิ้งสัมผัสไม่ได้ในโผฏฐัพพะ ได้ชื่อว่าสำรวมไม่ได้ ได้แก่ ๑. อินฺทฺริเยสุ อสํวุฒิ ไม่ระวังอินทรีย์ทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเป็นตัวศีลสำคัญของพระภิกษุสามเณร ๒. โภชนมหิ อมตฺตญฺญู ไม่รู้จักประมาณในโภชนาหาร คือ ไม่ประมาณการใช้สอย หาเงินเท่าไรก็หมด บริโภคไม่ ประมาณ ถึงกับต้องกู้หนี้ยืมสิน บริโภคจนเจ็บป่วยถึงแก่ชีวิต เป็นต้น ๓. จมอยู่ด้วยอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด ได้แก่ ๓.๑ คนเกียจคร้าน (กุสต์) เพราะปราศจากศรัทธาในพระรัตนตรัย “คนไม่มีศรัทธา มา อยู่วัดอยู่วาก็นอนอืด อยู่บ้านก็นอนอืด ไม่มีศรัทธาไม่เชื่อมั่นเข้าไปในพระรัตนตรัย”
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More