ข้อความต้นฉบับในหน้า
138 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา
๓.๒ คนมีความเพียรเลว (ห็นวีริย์) คือ ทำแต่ความชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ถึงจะเพียรไป ก็
มีแต่ให้โทษ “ในจำพวกเหล่านี้ ได้ชื่อว่าไม่พ้น มารย่อมรังควานได้ เป็นลูกมือของพญามาร มารจะ
ต้องการอย่างไร ก็ได้สมความปรารถนาของมารทุกสิ่งทุกประการ จะให้ครองเรือนเสียตลอดชาติ
ไม่ขยันจำศีลภาวนา ก็ต้องเป็นไปตามอำนาจของมาร จะให้ไปดูมหรสพต่างๆ ตามใจมาร บังคับ ให้
เป็นไปตามอัธยาศัยของมารแท้ๆ”
ตามบาลี : วาโต รุกข์ว ทุพพลนฺติ ฯ
เหมือนลมเมื่อพัดมาแต่เล็กน้อยเท่านั้น ต้นไม้ที่ใกล้จะทลายอยู่แล้ว ไปกระทบลมเข้าจากทิศ
ทั้ง ๔ แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็โค่นล้มลงไปง่ายๆ เพราะมันใกล้จะล้มอยู่แล้วนั้น
ถ้าว่าสำรวมได้เสียแล้วก็เป็นคนดี ภิกษุก็เป็นภิกษุดี สามเณรก็เป็นสามเณรดี
อุบาสกดี อุบาสิกาก็เป็นอุบาสิกาดี เพราะความสำรวมเสียได้
ดังพระบาลี อสุภานุปสฺส วิทรนต์ อินทริเยสุ สุสวุฒิ ฯ
แปลได้ความโดยย่อว่า
มารย่อมรังควานบุคคลนั้นไม่ได้เพราะสำรวม
เพราะเห็นตามอารมณ์อันไม่งามอยู่
สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
รู้จักประมาณในโภชนะเครื่องใช้สอยกิน
มีศรัทธา ปรารภความเพียร
นั่นแหละมารรังควานไม่ได้
เหมือนลมซึ่งจะพัดภูเขาอันล้วนแล้วด้วยหิน
ให้สะเทือนไม่ได้ ฉันนั้น
ผู้สำรวมได้เป็นอย่างไร ?
อุบาสก
ก็เป็น
คือผู้เห็นตามอารมณ์ว่าไม่งามอยู่ทั้งรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส คือ เห็นว่าไม่งาม มีเกิดมีดับ
ตัวไม่มีจริง รูปงามไม่มี เสียงไพเราะไม่มี รส กลิ่นหอม สัมผัสนั้นล้วนเป็นของหลอกลวง จึงสำรวมด้วย : -
๑. สำรวมในอินทรีย์ทั้ง 5
โทษ
คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำรวมได้หมดยังประโยชน์ให้สำเร็จหนักขึ้น ถ้าสำรวมไม่ได้ก็ให้
๒. รู้จักประมาณการใช้สอยปัจจัย ๔
๒.๑ อาหาร ในครั้งพุทธกาลและหลังพุทธกาล บางท่านจะตั้งใจสำรวมเรื่องอาหารมาก
ถึง กับใช้เครื่องตวงอาหารบ้างก็กำหนดด้วยอาหาร เช่น ข้าวสาร ข้าวสุก ให้บริโภคพอในเขตที่
สำรวมของตน บางท่านใช้ประมาณท้องอิ่มจึงหยุด หรือหย่อนอิ่ม แล้วดื่มน้ำตาม ให้ท้องไม่เฟ้อ ประสงค์
ให้ธาตุย่อยง่าย
สิ่งใดให้โทษแก่ร่างกายก็งด ถ้าให้คุณก็รับแต่พออิ่ม ตามสะดวกแก่ร่างกายอย่างสำรวม แล้ว
แต่ธาตุธรรมของตน เช่น คนแก่ชอบมะระ แต่เด็กบอกว่าขม
๒.๒ รู้จักกระเหม็ดกระแหม่ผ้าสำหรับใช้สอย มิฉะนั้นจะต้องเป็นหนี้เป็นบ่าวเขาทีเดียว