ประวัติศาสตร์ศาสนาและการปฏิบัติธรรมที่วัดพระธรรมกาย หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ศาสนา-วัฒนธรรม-ประเพณี หน้า 3
หน้าที่ 3 / 164

สรุปเนื้อหา

วัดพระธรรมกายเกิดจากการแนะนำและการตอบปัญหาของคุณยายอาจารย์ ซึ่งเป็นที่มาของการสร้างสถานที่ปฏิบัติธรรมเพื่อรองรับศิษยานุศิษย์ที่เพิ่มขึ้น เรื่องราวของหลวงพ่อทัตตชีโว เน้นการอบรมเยาวชนและตอบคำถามเกี่ยวกับธรรมะ ภายในที่นี่ตั้งแต่เริ่มต้นจนมีจำนวนผู้เข้าฟังมากถึงหลักแสน และกำลังพัฒนาเป็นสภาธรรมกายสากล เพื่อรองรับผู้เข้ามาร่วมกันปฏิบัติธรรมในอนาคต ขอเชิญติดตามเรื่องราวนี้ได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-ประวัติศาสตร์การก่อตั้งวัดพระธรรมกาย
-การตอบปัญหาธรรมะ
-การอบรมเยาวชน
-การเติบโตของจำนวนผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรม
-การสร้างสถานที่ปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ศาสนา-ประเพณี-วัฒนธรรม ทุกครั้งหลังจากที่สาธุชนลากลับไปแล้ว คุณยายอาจารย์มักจะ คอยแนะนำว่าปัญหาต่างๆ ที่เขาถามมานั้น ควรจะตอบอย่างไร จึงจะ ถูกต้องตามหลักธรรม และเกิดประโยชน์ต่อผู้ถามอย่างเต็มที่ และนี่ก็ คือที่มาของ “หลวงพ่อตอบปัญหา” ต่อมา ศิษยานุศิษย์ของคุณยายอาจารย์ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น ตามลำดับ จนบ้านธรรมประสิทธิ์คับแคบลง ไม่อาจรองรับได้ทั้งหมด คุณยายอาจารย์และศิษยานุศิษย์รุ่นแรกๆ จึงได้ขยับขยายมาสร้าง สถานที่ปฏิบัติธรรมแห่งใหม่ ตั้งชื่อสถานที่แห่งนี้ว่า “ศูนย์พุทธจักร ปฏิบัติธรรม” ซึ่งต่อมาคือ “วัดพระธรรมกาย” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลวงพ่อทัตตชีโว ก็ได้เป็นพระอาจารย์อบรม เยาวชน ในโครงการอบรมธรรมะภาคฤดูร้อน “ธรรมทายาท” ซึ่งจัดขึ้น สำหรับนิสิต นักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ท่านต้องคอยตอบปัญหา เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมของเยาวชนเหล่านั้นอยู่เป็นประจำ แม้ว่าท่าน จะเพิ่งบวชได้ไม่กี่เดือนก็ตาม ครั้นเริ่มต้นสร้างวัดพระธรรมกาย ทุกวันอาทิตย์ ภาคบ่าย หลวง พ่อทัตตชีโวยังได้ทำหน้าที่เทศน์สอนธรรม และตอบปัญหาข้อสงสัยต่างๆ มาโดยตลอด จำนวนผู้ฟังได้เพิ่มมากขึ้นจากหลักสิบ หลักร้อย หลักพัน หลักหมื่น และก้าวสู่หลักแสนตามลำดับ เริ่มจากการนั่งเทศน์ใต้ร่มไม้ แล้วขยายเข้าในเต็นท์ จนต้องสร้างเป็นศาลาถาวรให้จุคนได้ถึง ๕๐๐ คน ต่อจำนวนสาธุชนได้มากเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งต้องขยายเป็นศาลา มุงจากขนาดใหญ่ จุได้หนึ่งหมื่นคน และกำลังจะเป็นสภาธรรมกายสากล ซึ่งเป็นอาคารถาวรจุได้กว่าแสนคนในไม่ช้านี้ เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ในหมู่ศิษยานุศิษย์ว่า การตอบ หลวง พ่อ 3 ตอบ ปั ญ ห า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More