การสร้างโบสถ์ที่วัดพระธรรมกาย หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ศาสนา-วัฒนธรรม-ประเพณี หน้า 70
หน้าที่ 70 / 164

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับการออกแบบและสร้างโบสถ์ที่วัดพระธรรมกาย ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวัดเบญจมบพิตร โดยเน้นการใช้วัสดุที่มีคุณภาพและความคงทน เพื่อให้โบสถ์สามารถอยู่คู่กับพระศาสนาได้ยาวนานถึง 2,000 ปี การใช้เทคโนโลยีในกระบวนการก่อสร้างช่วยให้สร้างโบสถ์อย่างแข็งแรง และผู้สร้างหวังว่าโบสถ์จะไม่จำเป็นต้องซ่อมแซมในอนาคต เพื่อให้มีเวลาศึกษาและปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่.

หัวข้อประเด็น

-การออกแบบโบสถ์
-ความคงทนของโบสถ์
-วัสดุที่ใช้ในก่อสร้าง
-แรงบันดาลใจจากวัดเบญจมบพิตร
-การปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ศาสนา-ประเพณี วัฒนธรรม ๓๑. แบบจากวัดเบญจมบพิตร ตามที่ผมได้มาชมบริเวณวัดพระธรรมกาย ผมได้เห็นโบสถ์ ซึ่ง ไม่เหมือนกับโบสถ์โดยทั่วไปเลยในประเทศไทย ได้นำ เอาแบบมาจากไหนครับ ? โบสถ์รูปร่างลักษณะนี้ ขนาดนี้ ไปเอามาจากไหน ตอบว่าเอา มาจากวัดเบญจมบพิตรฯ นะ จะต่างกันก็หลังคา เพราะว่าถ้าจะทำ หลังคาเหมือนที่วัดเบญจมบพิตรฯ แล้วละก็ต้องเพิ่มเงินอีกหลายล้าน เหลือเกิน ก็เลยทำได้อย่างที่เห็นนี่แหละ ต้องประหยัดแล้วคำนึงถึง ความคงทนด้วย หลังคาก็ใช้กระเบื้องสมัยนั้นนั่นแหละ มุงง่ายๆ เลือกเอาที่ดี ที่สุดเท่าที่จะหาได้ในสมัยที่เริ่มก่อสร้าง เดี๋ยวนี้บางโรงงานอาจจะมี กระเบื้องชนิดดีกว่านี้ก็ได้ ผนังของโบสถ์ใช้เสาเข็มของซีแพค ขนาด ๒๓ เมตร ตอกลงไปจนกระทั่งตอกไม่ลง ก็คำนึงถึงความคงทน แม้แต่ท่อ น้ำ ก็ใช้ท่อแสตนเลสไปเลย ตอนสร้างก็ตั้งใจทำเอาไว้อย่างดี ให้แข็งแรงทนทาน ให้อยู่ ได้สัก 2,000 ปี ก็แล้วกัน ถ้าจะอยู่คู่กับพระศาสนาได้ก็ยิ่งดี แต่เราก็ ต้องยอมรับว่ามันต้องฟังสักวันหนึ่ง แต่ว่า.....เมื่อทำแล้วก็จะให้มีความ คงทนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และก็หวังว่าในยุคสมัยของผู้ร่วมการ ก่อสร้างโบสถ์นี้จะไม่มีการซ่อมแซม เพื่อจะได้มีเวลาในการศึกษา ปฏิบัติธรรมมีเวลาค้นคว้า นำพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเผยแผ่แก่สาธุชนให้มากที่สุด นี่เป็นความตั้งใจของพวกเรา พระภาวนาวิริยคุณ 70 (เผด็จ ทั ต ต ชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More