ข้อความต้นฉบับในหน้า
ศาสนา-ประเพณี วัฒนธรรม
๗๕. อาลัยศิลปะไทย
ผมขอกราบเรียนถามว่าการที่วัดพระธรรมกายบอกว่าไม่ได้
แหกคอกเรื่องแบบการก่อสร้างวัด และไม่ได้ทำให้
พิสดารกว่าวัดอื่นนั้น มันก็ถูกอยู่ครับ แต่ผมอยากทราบ
ว่า ถ้าวัดอื่นเขาเกิดเอาตัวอย่างการก่อสร้างแบบวัด
พระธรรมกาย ท่านไม่เกรงว่าประเพณีหรือศิลปะสมัย
ก่อนจะสูญหายหรือถูกลืมหรือครับ (พระเรียนถามมา)
เวลาจะสร้างอะไร ควรคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้ให้มาก
เคยคิดบ้างไหมว่าศิลปไทยที่เห็นอยู่นี้ความจริงมันเริ่มมาตั้งแต่เมื่อไร
อาจจะเริ่มเมื่อประมาณ ๔๐๐ ปีก่อนก็ได้ และเคยคิดไหมว่าเมื่อ ๒,000
ปีที่แล้ว สถาปัตยกรรมที่มีอยู่ในเมืองไทยมีรูปร่างอย่างไร?
วันหนึ่งมันก็สูญหายไปเป็นธรรมดา เมื่อ พ.ศ.๓๐๓ ในเมือง
ไทยก็มีวัดแล้ว คือวัดพระปฐมเจดีย์ แต่มั่นใจได้เลยว่าสถาปัตย
กรรมคงไม่ใช่รูปแบบที่เราเห็นอยู่ขณะนี้ เพราะอะไร?
เพราะวัสดุก่อสร้างเปลี่ยนไปทุกวัน เดี๋ยวนี้หาไม้ได้ง่ายๆ
เหมือนเมื่อก่อนไหม? ไม้กำลังจะต้องชั่งขายเป็นกิโลแล้วนะ
เข้มงวดรักษาอย่างไรก็ไม่อยู่ ถ้าจะสร้างเพื่อรักษาศิลปวัฒนธรรม
ของปู่ย่าตายายไว้ ก็เห็นด้วย แต่ควรแบ่งไว้ส่วนหนึ่ง หรือสร้างไม้
สักหลังหนึ่ง เพื่อรักษาศิลปะ
นอกนั้นจะสร้างอย่างไรก็ได้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย
ให้มาก อย่างที่รัฐบาลไทยทำอยู่ขณะนี้ ทำถูกต้องแล้ว คือโบสถ์หรือ
วัดที่ประกอบด้วยศิลปกรรมที่ดีเยี่ยมเลย ก็เก็บรวมไว้แห่งใดแห่งหนึ่ง
ในประเทศไทย ส่วนวัดอื่นก็ดูตามสภาพ จะใช้แบบเก่าก็ได้ แบบใหม่ก็
พระภาวนาวิริยคุณ 160 (เผด็จ ทั ต ต ชีโว)