จระเข้ในประเพณีทอดกฐิน หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ศาสนา-วัฒนธรรม-ประเพณี หน้า 22
หน้าที่ 22 / 164

สรุปเนื้อหา

จระเข้เป็นสัญลักษณ์ที่นำหน้าในขบวนทอดกฐินในประเทศไทย โดยมีความเชื่อที่แตกต่างกัน การตักเตือนพระภิกษุไม่ให้เห็นแก่กิน และนิทานปรัมปราเกี่ยวกับหญิงหม้ายที่มีสามีที่ตายไปแล้วกลับมาในรูปจระเข้า ทั้งนี้รูปจระเข้มีเฉพาะบางวัดที่ติดอยู่ติดแม่น้ำ หรือลำคลอง และวัดพระธรรมกายไม่ได้มีการติดธงนี้เลย

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของจระเข้ในกฐิน
-ประเพณีทอดกฐิน
-นิทานปรัมปราเกี่ยวกับจระเข้
-ศาสนาและวัฒนธรรมไทย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ศาสนา-ประเพณี วัฒนธรรม ๕. จระเข้ - กฐิน เวลาจะทอดกฐิน ทำไมจึงมีรูปจระเข้แห่นำหน้าไปด้วย ขอความ กรุณาหลวงพ่อช่วยเล่าประวัติย่อๆ ให้หนูฟังหน่อย เถิดคะ ? รูปจระเข้มีติดไว้ที่ธงนำขบวนกฐินนี้ในสมัยพุทธกาลไม่มี มีแต่ ในสมัยหลังๆ แล้วก็มีเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น ความเป็นมาเกิดจาก การเล่าขานต่อๆ กันมาเป็นเชิงนิทานปรัมปรา เอาจริงเอาแน่ไม่ได้ ୭ กรณีที่ ๑ เป็นปริศนาธรรม ให้ความหมายว่าเนื่องจากจระเข้ มีลักษณะเฉพาะอยู่ว่า มันเป็นสัตว์ประเภทที่เห็นแก่กิน กินไม่รู้จักอิ่ม พอทอดกฐินเสร็จเรียบร้อยเขาก็เอาธงปักไว้ที่หน้าวัด เป็นธงรูปจระเข้ ก็คือต้องการเตือนพระภิกษุว่าอย่าเห็นแก่กินให้ตั้งใจปฏิบัติธรรม กรณีที่หนึ่งเป็นอย่างนี้ กรณีที่ ๒ มีนิยายปรัมปรา เล่าสืบต่อกันมาว่า หญิงหม้าย คนหนึ่งไปทอดกฐิน สามีที่ตายไปแล้วไปเกิดเป็นจระเข้ เวลาภรรยาเก่า ไปทอดกฐินโดยทางเรือ จระเข้ตัวนั้นก็ว่ายน้ำนำเรือไป จนกระทั่งถึง วัดที่ทอดกฐิน ชาวบ้านรำลึกถึงความดีของจระเข้ที่อุตส่าห์มานำทาง วันหลังจึงให้มีรูปจระเข้มาทำเป็นธงติดนำขบวน อันนี้เป็นนิยายปรัม ปราเอาเรื่องเป็นจริงเป็นจังไม่ได้ เรื่องธงรูปจระเข้นี้ ไม่ได้มีทุกวัด เท่าที่เห็นมีเฉพาะวัดที่อยู่ ติดแม่น้ำ ลำคลอง ที่วัดพระธรรมกายทอดกฐินแล้วไม่เคยติดธงรูป จระเข้เลยนะ พระภาวนาวิริยคุณ 22 (เผด็จ ทั ต ต ชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More