ข้อความต้นฉบับในหน้า
ศาสนา-ประเพณี วัฒนธรรม
ตกเย็นไปกระทบเรื่องนั้นเรื่องนี้เข้าอีกแล้ว ก็ออกงิ้วออกโขน ทะเลาะ
ทุ่มเถียงกันไป
ตกลงวันหนึ่งๆ นี่กรรมที่เขาทำเอาไว้มีทั้งดีทั้งชั่ว เปรียบ
เหมือนเส้นดายเส้นยาวๆ ที่ผูกปมเอาไว้ตรงโน้นตรงนี้ เมื่อรวมเส้นด้าย
แห่งกรรมที่เขาทำเอาไว้ละก็ สางกันไม่ไหว มันยุ่งไปหมด ไม่รู้จะจับ
ต้นชนปลาย เริ่มแก้ที่ปมไหน บางปมแก้ไม่ออก และเพราะแก้ไม่ออก
นี่แหละ ชีวิตของชาวโลกจึงทุกข์ร้อน วุ่นวาย สับสนกันอย่างนี้
เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นว่าชีวิตทางโลกยุ่งยากอย่างนี้ ขึ้น
อยู่ครองเมืองคงแก้ปมชีวิตที่ยุ่งๆ ไม่ออกแน่ จึงไม่ยอมอยู่ในวังวน
ทรงขึ้นม้ากัณฐกะ เสด็จออกจากวังไปทีเดียว ออกผนวชแสวงทาง
พ้นทุกข์ จนกระทั่งตรัสรู้ แล้วจึงย้อนกลับมาโปรดชาวโลก สอนพระ
ญาติของพระองค์ให้รู้จักถอนตัวออกจากวังวน ออกจากปมยุ่งๆ เหล่า
นั้น ด้วยการออกบวช มาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า ไม่ต้องไปก่อกรรม
เลวร้ายใดๆ อีกแล้ว มีแต่เรื่องทำความดี ทั้งฝึกตัวเอง แล้วก็ฝึกผู้อื่น
ให้ทำดี ละความชั่วทั้งหลายตามไปอีกด้วย
ถ้าบวชเป็นสามเณรก็รักษาศีล ๑๐ ข้อ บวชเป็นพระภิกษุก็
รักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ความระมัดระวังก็มากขึ้นตามส่วน ทำให้ใจจด
จ่ออยู่ที่ศูนย์กลางกายได้นานขึ้น สติก็ดีขึ้น บุญก็เลยได้มากขึ้น
ใครอยากได้บุญมากๆ อยากไปนิพพานได้เร็วๆ ก็ตามหลวง
พ่อมาบวชกันนะ
พระภาวนาวิริยคุณ 36 (เผด็จ ทั ต ต ชีโว)