ชีวิตที่ประเสริฐในศาสนาและประเพณี หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ศาสนา-วัฒนธรรม-ประเพณี หน้า 35
หน้าที่ 35 / 164

สรุปเนื้อหา

ชีวิตที่ประเสริฐในศาสนาและประเพณีมักเป็นการทำความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างการบวชและการใช้ชีวิตในครอบครัว การตัดสินใจบวชมีความหมายมาก เพราะชีวิตพระเป็นการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ซึ่งช่วยให้หลุดพ้นจากกิเลสต่าง ๆ ชาวโลกมักมีความวุ่นวายจากการกระทำที่ดีและชั่วแทรกซ้อนกันตลอดทั้งวัน เช่นเดียวกับการทำบุญตักบาตรแต่กลับมาพบกับความเครียดจากการจราจร Что касается повседневной жизни, она включает как моменты радости, так и стресса, в зависимости от обстоятельствต่าง ๆ.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของชีวิตที่ประเสริฐ
-ความแตกต่างระหว่างชีวิตฆราวาสและชีวิตพระ
-การทำกรรมดีและกรรมชั่ว
-อารมณ์และประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ศาสนา-ประเพณี วัฒนธรรม ๑๒. ชีวิตที่ประเสริฐ คนเราถ้าตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่แล้ว จะบวชหรือไม่ก็คง ได้ผลไม่แตกต่างกัน ใช่หรือไม่ครับ ? ต่างกันแน่ๆ เพราะการตัดสินใจว่าจะบวชนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ชีวิตพระชีวิตสามเณร เป็นชีวิตที่เรียกว่าบำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือ ปลีกตัวออกจากครอบครัว เพราะเรื่องของครอบครัวนี้เป็นเรื่องยุ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “ชีวิตฆราวาสนั้นคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี คือกิเลส บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง” มันยุ่งอย่างไรหรือ? แล้วทำไมจึงต้องปลีกตัว ขอให้ทุกคนมอง อย่างนี้ ในแต่ละวันที่ชาวโลกเขาอยู่กัน เขามีเรื่องเยอะแยะ บ้างก็ ก่อกรรมดีและกรรมชั่วปนๆ เปๆ กันไป ทั้งวัน ถ้าจะอุปมาว่ากรรมที่ ก่อไว้เปรียบเหมือนอย่างกับเส้นด้าย ถ้าทำกรรมดีก็เปรียบเหมือนด้าย ที่เป็นเส้นตรงทั้งเรียบ ทั้งเหนียว ถ้าทำกรรมชั่วก็เปรียบเหมือนกับ ไปขมวดปมที่เส้นด้ายไว้ตรงโน้นตรงนี้ ด้ายเส้นนั้นก็เป็นปุ่มเป็นปมไป ทั้งเส้น ไม่น่าใช้ ชาวโลกโดยทั่วไปมีใจขึ้นๆ ลงๆ ทั้งวัน เดี๋ยวทำดี เดี๋ยวทำชั่ว ตื่นขึ้นมาแต่เช้าตรู่ ตั้งใจทำความดี ตั้งใจที่จะตักบาตรพระ ครั้นใส่ บาตรแล้วใจก็ชุ่มชื่นเบิกบานแจ่มใส แต่พอสายสักหน่อย ออกจาก บ้านจะไปทำงาน ไปเจอรถติดเข้าก็อารมณ์เสีย ด่ารถที่มันแซงซ้าย ด่า มอเตอร์ไซด์ที่มันขับปาดหน้า ที่มันเฉี่ยว กว่าจะไปถึงที่ทำงานก็หน้า หงิกหน้างอทีเดียว พอถึงที่ทำงานได้คุยเล่นกับเพื่อนๆ จนกระทั่งใกล้เพลใกล้ เที่ยงอารมณ์ชักดี คิดทำโครงการโน้นโครงการนี้ ที่มันดีๆ พอตกบ่าย ห ล ว ง พ่ อ 35 ตอบ ปั ญ ห า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More