พระไตรปิฎกในสายตาฝรั่ง หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ศาสนา-วัฒนธรรม-ประเพณี หน้า 89
หน้าที่ 89 / 164

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจมุมมองของฝรั่งที่มีความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกแต่ไม่ได้เป็นชาวพุทธ โดยอ้างถึงประสบการณ์จากการเรียนที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด และการที่ผู้เชี่ยวชาญในด้านภาษาศาสตร์บางคนมีความรู้เกี่ยวกับบาลีและสันสกฤตมากกว่าผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทย นอกจากนี้ยังพูดถึงความสนใจของชาวต่างชาติในภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่บางครั้งดูเหมือนจะทิ้งไว้โดยคนในพื้นที่เอง

หัวข้อประเด็น

-ความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก
-วัฒนธรรมและประเพณี
-การเรียนภาษาบาลีและสันสกฤต
-มุมมองที่มีต่อศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ศาสนา-ประเพณี วัฒนธรรม ๔๐. พระไตรปิฎกในสายตาฝรั่ง ทำไมฝรั่งบางคนเก่งพระไตรปิฎก แต่ไม่ยอมเป็นชาวพุทธ ? เมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๙ อาตมาได้เดินทางไปยุโรป ไปที่เมืองออก ฟอร์ดและเคมบริดจ์ เนื่องจากวัดพระธรรมกายได้ส่งพระภิกษุรูปหนึ่ง ไปเรียนวิชาบาลีสันสกฤต อยู่ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด เหตุที่ส่งไปเรียน ที่อังกฤษ ก็เพราะว่าตั้งแต่อังกฤษเข้าไปปกครองอินเดียแล้ว ได้ครู อินเดียเก่งๆ มาไว้ที่มหาวิทยาลัยนี้มาก เพราะฉะนั้นผู้เชี่ยวชาญด้าน ภาษาบาลีสันสกฤต ขณะนี้ไม่ได้อยู่ในอินเดีย แต่อยู่ในอังกฤษ เป็นคน อังกฤษ เหมือนภาษาล้านนาขณะนี้หาคนไทยที่เก่งภาษาล้านนาจริงๆ ไม่ได้แล้ว ผู้เชี่ยวชาญภาษาล้านนาขณะนี้กลับเป็นชาวเยอรมัน เพราะคนไทยเรียนแล้วไม่รู้จะเอาไปทำมาหากินอะไร คนไทยที่เก่ง ภาษาล้านนา ก็ตายไปเมื่อ ๔-๕ ปีที่แล้ว ก่อนตายไม่กี่ปี เขาอยากจะ ถ่ายทอดวิชาก็เลยเปิดรับสมัครเรียนภาษาล้านนา แต่ไม่มีคนไทยคน ใดคิดจะเรียน คนเยอรมันกลับบินมาเรียน เพราะฉะนั้นตอนนี้ถ้าใคร อยากจะเรียนภาษา ล้านนาให้คล่องแคล่ว ก็ต้องไปจ้างครูเยอรมัน มาสอน ผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎกขณะนี้ ไม่ใช่ชาวพุทธ แต่เป็นชาว คริสต์อยู่ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดบ้าง เคมบริดจ์บ้าง แต่เขาเชี่ยวชาญ ในลักษณะที่เป็นอักษรศาสตร์ไม่ใช่ในเชิงพุทธศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัย อ๊อกฟอร์ด ซึ่งพระจากวัดพระธรรมกายไปเรียนนั้น อาจารย์ของท่าน เป็นประธานสมาคมภาษาบาลีแห่งโลก แต่เขานับถือศาสนาคริสต์ ใคร อยากรู้เรื่องอะไรในพระไตรปิฎกท่านบอกได้หมด บอกข้อบอกหน้าให้ ด้วย แทบจะบอกบรรทัดให้ด้วยซ้ำ คุยไปคุยมาเขาเผลอพูดออกมาว่า ห ล ว ง พ่ อ 89 ต อ บ ปั ญ ห า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More