ศาสนาและประเพณีในสังคมไทย หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ศาสนา-วัฒนธรรม-ประเพณี หน้า 164
หน้าที่ 164 / 164

สรุปเนื้อหา

บทความแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของศาสนาและแนวทางการใช้ชีวิตตามคำสอนที่ดีจากครอบครัว โดยเน้นถึงการสร้างฮวงซุ้ยที่ไม่ควรเป็นเพียงพิธีกรรมภายนอก แต่ควรมีความหมายที่ลึกซึ้งและเป็นประโยชน์ต่อลูกหลาน เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต การมองที่ภายนอกอาจทำให้คนหลงผิดและเลือกผิดเส้นทาง ดังนั้นเราควรมีการปฏิบัติที่ดี วางโครงสร้างที่เหมาะสมให้สังคม และสนับสนุนการทำความดีแทนการเน้นพิธีกรรมที่ไม่จำเป็น สิ่งนี้จะช่วยให้เราใช้ชีวิตอย่างมีจุดหมายมากขึ้นและทำให้บรรยากาศในครอบครัวและสังคมดีขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-คุณค่าของศาสนา
-ความสำคัญของประเพณี
-การสร้างฮวงซุ้ย
-การปฏิบัติที่ดีในสังคม
-บทบาทของครอบครัว

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ศาสนา-ประเพณี วัฒนธรรม ธรรมดาคนที่นึกถึงสิ่งที่เป็นคุณธรรม นึกถึงคำสอนที่ดีของพ่อ แม่ ปฏิบัติต่อพระสงฆ์องค์เจ้าอย่างดี จิตใจเขาย่อมจะดี มีการประพฤติ ปฏิบัติที่ดีขึ้นๆ เป็นลำดับ คนๆ นั้นย่อมมีโอกาสก้าวหน้ายิ่งขึ้น รุ่งเรืองขึ้น บรรยากาศที่ดีก็มีส่วนส่งเสริมให้เกิดความคิดดีๆ ได้ ต่อมาภายหลัง ความเข้าใจเหล่านี้ได้ถูกบิดเบือน จนเลอะ เลือนไป เพราะคนเรามักมองกันที่ภายนอก ไปมองว่าที่ตระกูลเขา รุ่งเรือง เพราะฮวงซุ้ยพ่อแม่ของเขาอยู่ในทำเลดี เขามองไม่เห็นแก่น ไม่เห็นหลัก ก็เลยจับเอาเปลือกๆ มาทึกทักว่าต้องทำเลดี ตัวเอง จึงจะเจริญ เลยเลือกแต่ทำเล ไม่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในที่สุดทำเลดีก็ไม่เกิดประโยชน์ แต่กลับเกิดมีปัญหาว่าคน ตายขายคนเป็น ทุ่มเทเงินทองซื้อฮวงซุ้ย จนเป็นหนี้สินแล้วมา โทษว่าฮวงซุ้ยไม่ช่วย เดี๋ยวนี้บางครอบครัวพบปะกันหน้าฮวงซุ้ยแต่ตั้วเฮีย คือพี่ใหญ่ ส่วนยี่เฮียทั้งหลายกลับมานั่งล้อมวงดื่มเหล้ากัน นี่ถ้าเสี่ยยังมีชีวิตอยู่ มีหวังถูกด่าเปิง แต่ถ้าเตี่ยเป็นคนชอบดื่มเหล้า แล้วลูกหลานมาดื่มเหล้า อีก เตี่ยที่ตกนรกเพราะเหล้าอยู่แล้ว ก็ยิ่งตกลึกลงไปอีก เพราะเสี่ยอยู่ ในฐานะเป็นครู เป็นแบบอย่างให้ลูกหลานดื่มเหล้าตาม เหตุผลดั้งเดิมของการสร้างฮวงซุ้ยนั้น เพื่อประโยชน์ของ ลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่ใช่เพื่อคนตาย คิดดูง่ายๆ ถ้าเราตาย เราจะอยู่เฝ้ากระดูกตัวเองไหม ไม่เฝ้า แล้วลูกหลานจะมาเฝ้ากระดูกคนตายไว้ทำไม เอาเงินไปสร้างสาธารณ ประโยชน์ เช่น วัดวาอาราม แล้วถึงเวลาที่เหมาะสมก็นัดกันทำบุญทำ กุศลส่งให้ท่านดีกว่านะ พระภาวนาวิริยคุณ 164 (เผด็จ ทัตตชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More