สีจีวรพระและมาตรฐานการย้อม หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ศาสนา-วัฒนธรรม-ประเพณี หน้า 139
หน้าที่ 139 / 164

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อภิปรายเกี่ยวกับสีจีวรของพระภิกษุว่าไม่ได้มีสีส้มสดตามที่เข้าใจกันทั่วไป แต่สีจีวรที่ท่านใช้มีมาตรฐานเฉพาะซึ่งสามารถย้อมด้วยสีย้อมจากยางไม้หรือแก่นของต้นขนุนในสมัยโบราณ ในปัจจุบันการหาต้นไม้ใหญ่สำหรับการย้อมสีเป็นเรื่องยาก ทำให้ต้องใช้น้ำย้อมที่วางจำหน่ายในตลาด ซึ่งใกล้เคียงกับมาตรฐานเท่านั้น ข้อกำหนดที่ชัดเจนเกี่ยวกับสีมีอยู่ แต่ไม่ควรใช้สีที่ผิดเพี้ยนจนกลายเป็นสีดำหรือสีคล้ำเกินไป โดยหลักการยังคงยึดถือให้ใกล้เคียงกับสีที่ใช้ในสมัยพุทธกาล

หัวข้อประเด็น

-ประวัติของสีจีวร
-การย้อมจีวรในปัจจุบัน
-ข้อกำหนดเกี่ยวกับสีจีวร
-ความเป็นจริงในปัจจุบัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ศาสนา-ประเพณี วัฒนธรรม ๖๕. สีจีวร ดิฉันเคยได้ฟังมาว่า จีวรพระไม่ใช่สีส้มสด หลวงพ่ออธิบายด้วยคะ ? ขอความกรุณา ตั้งแต่สมัยพุทธกาลมา สีจีวรของพระท่านให้ใช้สีย้อมฝาด คือ สีย้อมผ้าที่ได้จากยางไม้ หรือจากแก่นของต้นขนุน แต่ในปัจจุบันมอง รอบตัวจะหาต้นไม้ใหญ่ๆ ขนาดมีแก่นได้สักกี่ต้นกัน ฉะนั้นเราก็เลยต้องใช้สีที่ช่างเขาทำกันขึ้นมา ซึ่งก็ได้แค่สี ใกล้เคียงจะให้เป็นมาตรฐาน เหมือนกันหมดทุกวัดนั้นแสนยาก แม้ใน สมัยพุทธกาลที่ท่านให้ใช้สีที่ย้อมจากยางไม้หรือแก่นไม้ขนุน พอลงมือ ย้อมต่างก็ย้อมกันเอาเอง จึงไม่สามารถกำหนดสีมาตรฐานลงไปได้ ตก ลงเลยเอาเป็นว่าขอให้เป็น สีย้อมจากแก่นไม้จากยางไม้สีเหลืองๆ ก็แล้ว กัน แต่ที่แน่ๆ คือไม่ใช่แม่สีล้วนๆ และไม่ใช่สีเหลืองอ๋อยเพียงสีเดียว แต่เป็นลักษณะสีผสม ถ้าเดี๋ยวนี้ยังให้เคร่งครัดใช้สีย้อมจากยางไม้แบบสมัยพุทธกาล คงยุ่งยากไม่น้อย จะบวชพระสักรูป ต้องไปโค่นต้นขนุนมาย้อมจีวรกัน ก็บอกว่า ไม่มีต้นขนุนจะให้โค่นแล้ว ต้องเอาสีที่มีอยู่ในท้องตลาดนี่ แหละมาใช้ ขอเพียงว่าไม่ใช่แม่สีเหลืองอ๋อย แต่ว่ามีสีใกล้เคียง ถ้า คล้ายกับสีที่ย้อมจากแก่นไม้ก็อนุโลมใช้กันไป เราจะไปกำหนดสีนั้นสีนี้ ให้ตายตัวคงไม่ได้ เรื่องนี้ต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงก็แล้วกันว่า เราจะไม่ ใช้แม่สี เวลาย้อมสีจีวรก็เอาหลายสีผสมกัน ไม่ใช้สีใดโดยเฉพาะ แต่ ก็อย่าให้ออกสีดำหรือสีคล้ำจนเกินไป และไม่ให้เป็นสีเหลืองอ๋อยชัดๆ ก็คงทำได้เท่านั้นเอง ห ล ว ง พ่ อ 139 ตอบ ปัญหา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More