ธรรมะและพระธรรมในศาสนาพุทธ หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ศาสนา-วัฒนธรรม-ประเพณี หน้า 59
หน้าที่ 59 / 164

สรุปเนื้อหา

ธรรมะและพระธรรมมีความหมายแตกต่างกัน โดยธรรมะหมายถึงความดีและความจริงที่เกี่ยวกับโลก ในขณะที่พระธรรมคือคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกี่ยวกับความจริงและความดีในชีวิต นอกจากนี้ การใช้คำต่างๆ อย่างพระพุทธเจ้าเป็นการให้เกียรติแก่ท่าน ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญและการยกย่องในศาสนา การศึกษาเรื่องนี้ช่วยให้เราเข้าใจความหมายในวัฒนธรรมและการใช้ชีวิตในศาสนาพุทธได้ดียิ่งขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของธรรมะ
-ความหมายของพระธรรม
-การให้เกียรติในศาสนา
-ความดีและความจริง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ศาสนา-ประเพณี วัฒนธรรม ๒๕. ธรรมะกับพระธรรม ธรรมะกับพระธรรม ๒ คำนี้ มีความหมายและการใช้เหมือน กัน หรือต่างกันอย่างไรคะ ? คำว่า “ธรรม” อ่านว่า “ทำ-มะ” มีหลายความหมาย แต่ว่า ความหมายที่เราใช้กันโดยทั่วๆ ไป มีอยู่ ๒ ประการด้วยกัน ประการที่ ๑ ธรรมะหมายถึงความดี เช่น ความมีเมตตา กรุณาก็เป็นธรรมะ คือเป็นความดีประการหนึ่ง การให้ทานนั้นก็เป็น ธรรมะ เพราะเป็นความดีอย่างหนึ่ง ประการที่ ๒ ธรรมะหมายถึงความจริง ไม่ได้เป็นความดี หรอก แต่เป็นความจริงประจำโลก เช่น คนเราเกิดมาแล้วก็มีธรรมะ ประจำอยู่ว่า ต้องแก่ แล้วก็เจ็บ แล้วก็ตาย การเกิดแก่เจ็บตายไม่ได้ เป็นความดีอะไร แต่ว่าเป็นความจริงประจำโลก ส่วนคำว่า “พระธรรม” เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา หมายถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าด้วยเรื่องความจริงและ ความดี เกี่ยวกับโลกและชีวิต ไหนๆ ก็พูดกันเรื่องการใช้คำแล้ว ก็อยากจะเพิ่มเติมอีกสัก นิดหน่อย อย่างเช่น คำว่า พระพุทธเจ้า พระเถระหรือคณาจารย์ทาง ศาสนาในอดีตถ้าพูดถึงพระพุทธเจ้าของเรา ท่านจะไม่พูดคำว่าพุทธเจ้า เฉยๆ ท่านจะเติมคำว่า “พระ” ลงไปเป็น “พระพุทธเจ้า” และเมื่อจะ ให้เกียรติอย่างสูงส่งก็มักจะใช้คำว่า “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” นี้ก็เป็น เรื่องของการยกย่องให้เกียรติบุคคล ที่เราควรยกย่องบูชา ไปดูเถอะ ไปเปิดตำรับตำราโบราณดู ถ้าตำรานั้นเป็นพระภิกษุ เขียนแล้ว ท่านจะไม่เขียนว่าพระพุทธเจ้า แต่จะเขียนว่าพระสัมมา ห ล ว ง พ่ อ 59 ต อ บ ปั ญ ห า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More