ข้อความต้นฉบับในหน้า
ศาสนา-ประเพณี วัฒนธรรม
ถามว่าโบสถ์ของวัดพระธรรมกายมีช่อฟ้าไหม? มีนะ ไปดูสิ
เราหล่อไว้เป็นคู่เลย แท่งเบ้อเร่อ ฟ้าผ่ายังไม่สะเทือน ตายแล้วเกิด
ใหม่ก็ยังอยู่ มีช่อฟ้าของโบสถ์บางแห่งที่เขาพยายามเอาปูนมาปั้นเลียน
แบบไม้ คือเขาเอาปูนผสมทรายละเอียด แล้วก็มาปั้นให้มันอ่อนช้อย
เอากระจกปิดแล้วก็ปิดทอง ก็สวยดีแต่ไม่กี่ปีก็หลุดล่อนดำหมองไปหมด
เอาเป็นว่า ถ้าจะให้สวยถูกตาถูกใจกันละก็ ของเดิมสวยกว่า
แน่ๆ แต่วัดพระธรรมกายทำอย่างนั้นไม่ไหวหรอก เพราะต้องสิ้นเปลือง
เงินทองมาก อีกอย่างหนึ่งไม้ดีๆ ช่างที่มีฝีมือดีๆ ก็หายากมาก ในยุคที่
เริ่มสร้างวัด เลยตัดสินใจเอาทรงนี้ เราเลือกเอาความแข็งแรง
ทนทาน เอาความประหยัด และเอาประโยชน์ของการใช้สอยเข้าไว้
เพราะมั่นใจว่าอีกไม่ช้าเมืองไทยเราจะไม่มีไม้มาให้ใช้ ไม่มีช่างที่มี
ฝีมือเก่งๆ มาทำลวดลายให้ ต่อไปในภายภาคหน้าสถาปัตยกรรมทรง
อย่างนี้แหละที่จะต้องเอามาทำกัน
ขณะนี้ก็มีคนมาขอแบบแล้ว เขามาบอกว่า “หลวงพ่อขอพิมพ์
เขียวเถอะ จะเอาไปทำบ้าง”
อ้าว..ก็เห็นบ่นว่าของหลวงพ่อมันไม่เป็นทรงไทย? “เมื่อก่อน
ก็บ่น แต่คิดแล้วค่าก่อสร้างมันถูกดี แล้วก็ทนด้วย เลยเปลี่ยนใจ” แล้ว
ที่ด่าหลวงพ่อไว้เมื่อก่อนล่ะจะว่ายังไง “ก็ขออภัยก็แล้วกัน เจ้ากันไป
นะหลวงพ่อ” ก็เป็นกันอย่างนี้แหละ
ก่อนจะสร้างโบสถ์ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นศาสนสถาน
คู่บ้านคู่เมือง ก็ทั้งคิด ทั้งค้น ทั้งศึกษา ไม่ว่าจะในพระไตรปิฎก ใน
ตำรับตำราช่าง ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ ความเป็นไป
ได้ต่างๆ นานา ในที่สุดก็มาสรุปได้ว่า โบสถ์วัดพระธรรมกายจะต้องเป็น
อย่างนี้ ไม่ใช่อุตริทำให้แปลกกว่าคนอื่น เพราะอยากดังหรอกนะ
พระภาวนาวิริยคุณ 74
(เผด็จ ทั ต ต ชีโว)