ข้อความต้นฉบับในหน้า
ศาสนา-ประเพณี วัฒนธรรม
ปี เพื่อรับการถ่ายทอดนิสัย พระภิกษุสมัยนี้บวชปีสองปีแรก ไม่ค่อย
จะอยู่กับอุปัชฌาย์กัน เพราะกลัวอุปัชฌาย์เข้มงวด เพราะฉะนั้นการ
ถ่ายทอดนิสัยจึงขาดตอน คุณภาพของสงฆ์ก็หย่อน เหมือนกับลูกๆ ของ
โยมนั่นแหละเดี๋ยวนี้ พอโตเป็นหนุ่มเป็นสาว ก็ไม่อยากอยู่กับพ่อแม่
อยากอยู่หอพัก นิสัยก็เลยเหมือนคนแถวๆ หอพัก ไม่เหมือนพ่อไม่
เหมือนแม่ นี่คือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในสังคม
ด้วยเหตุนี้หลักสูตรของพระภิกษุจึงกำหนดไว้ว่าพรรษาที่ ๑
๕ เรียกว่า “พระนวกะ” (นะ-วะ-กะ) เทียบทางโลกในระบบมหา
วิทยาลัยก็เท่ากับ “เฟรชชี่” คือน้องใหม่ ถ้าผิดอะไรก็ขออภัยด้วย
สำนวนชาวบ้านบอกว่าเป็นประเภท “มะม่วงยังไม่ลืมต้น” คือ
พระที่ยังติดทางโลกอยู่มาก เพราะฉะนั้นถ้าใครต้องการบวชนานๆ
ระยะพรรษาที่ ๑-๕ จึงยังไม่ควรกลับบ้าน เพราะถ้ากลับบ้านแล้ว
เดี๋ยวจะบวชอยู่ได้ไม่นาน เช่น พอกลับไปเห็นเสื้อผ้า เห็นกางเกงที่
แขวนอยู่ ก็มักจะคิดอยากกลับไปสวมใส่ใหม่
ตัวหลวงพ่อเองตอนบวชใหม่ๆ ทำใจแข็งไม่ยอมกลับบ้าน แต่
พอเพื่อนที่เคยเรียนด้วยกันมาเยี่ยม ขนาดเขายังไม่ได้พูดอะไร แค่เห็น
เขาใส่เสื้อผ้าใหม่ๆ มา ก็อดคิดไม่ได้ว่าแฟชั่นใหม่นี้เข้าทีดีนะ ถ้าเราใส่
คงหล่อแน่ ทั้งที่ตัวเองก็ไม่หล่อ อ้วนก็อ้วน ยังไม่วายเข้าข้างตัวเอง
หรือพอไปเห็นกับข้าวที่เคยกินแกล้มเหล้ามาก่อน เขาเอามาถวาย แหม
...รสชาติมันถูกปาก สัญญาเก่าความทรงจำเก่ามันหวนกลับมา ขวด
เหล้ามาลอยเด่นในมโนภาพทันที
หลวงพ่อก็เคยตกอยู่ในสภาพเหมือนมะม่วงยังไม่ลืมต้นนะ นี่
คือชีวิตนักบวช ใครไม่เคยบวชจะไม่เข้าใจ เป็นพระก็ต้องรบกับ
กิเลสของตนเอง ไม่ได้รบกับใคร มีพระอุปัชฌาย์คอยกำกับบ้าง
พระภาวนาวิริยคุณ 52 (เผด็จ ทัตตชีโว)