ข้อความต้นฉบับในหน้า
ศาสนา-ประเพณี วัฒนธรรม
น้อยบางข้อ ถ้าจำเป็นก็อาจประชุมและแก้ไข หรือเพิกถอนวินัยเล็ก
น้อยเหล่านั้นได้ เพื่อให้ปรับเข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อมซึ่งเปลี่ยนไป แต่
ว่าก็เป็นข้อถกเถียงกันภายหลังว่าวินัยข้อไหนบ้างเป็นข้อเล็กน้อย และ
พระอานนท์ก็บังเอิญลืมทูลถามว่าเล็กน้อยนั้นแค่ไหน
เพราะฉะนั้นที่ประชุมก็เลยไม่ยอมแก้ไขคงใช้ข้อความเดิม
อย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ไว้ ซึ่งก็นับว่าเป็นการมอง
การณ์ไกลอย่างรอบคอบ
ทำไมจึงบอกว่ารอบคอบ? เราลองมาคิดว่าหากขณะนี้พระ
พุทธศาสนาได้แพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว และสมมติว่าพระภิกษุเมือง นี้
แก้ไขกฎข้อนี้ พระภิกษุเมืองโน้นแก้ไขกฎข้อโน้น ถ้าเวลาผ่านไป 900
ปี ๒๐๐ ปี พระภิกษุในพระพุทธศาสนามาเจอกัน อะไรจะเกิดขึ้น? แน่
นอนเลยว่าพระวินัยจะไม่ลงรอยกัน เพราะแก้กันคนละแห่ง คนละหน
ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาเดือดร้อนนี้ ที่ประชุมสงฆ์จึงไม่ยอม
แก้ไขใดๆ คงใช้ตามแบบเดิมซึ่งเคร่งครัดมาก และสามารถรักษาภาพ
ลักษณ์ของเดิมได้อย่างดี พูดง่ายๆ คือเป็นพวกอนุรักษ์นิยมนั่นเอง
ในยุคเดียวกันนั้น คือในครั้งที่ทำปฐมสังคายนามีพระภิกษุกลุ่ม
หนึ่ง ซึ่งที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ เกิดความน้อยใจที่ไม่ได้รับอนุญาต
ให้เข้าร่วมประชุมสังคายนาด้วย เลยจัดประชุมกันเอง โดยติดตาม
นัดหมายผู้ที่ได้ยินได้ฟังเรื่องราวจากพระโอษฐ์มาเหมือนกัน จำมาว่า
อย่างไรก็ช่วยกันทำ ช่วยกันบันทึกไว้
กลุ่มนี้ได้เผยแผ่พระศาสนาขึ้นไปทางภาคเหนือของอินเดีย
แล้วถือหลักโอนอ่อนผ่อนตาม เพราะต้องการรับสมาชิกให้มากๆ ไว้ก่อน
ท่านแก้ไขพระวินัย โดยอ้างพุทธานุญาตให้แก้ไขวินัยข้อเล็กน้อยได้
เพราะฉะนั้นพระวินัยทั้งหลาย เมื่อผ่านเข้าไปในประเทศต่างๆ เช่น จีน
เป็นต้น ก็เป็นพระวินัย ที่มีการแก้ไขปรับปรุงกันเรื่อยมา
พระภาวนาวิริยคุณ 152 (เผด็จ ทัตตชีโว)