ข้อความต้นฉบับในหน้า
ศาสนา-ประเพณี วัฒนธรรม
กลับกลอก ตลบแตลงทั้งหลาย นี่ก็เป็นชัยชนะที่ไม่ก่อเวร
ตอนที่ ๗ เป็นชัยชนะด้วยฤทธิ์ มีชัยต่อสัตว์ที่มีฤทธิ์ร้ายกาจ
คือ พญานาค ซึ่งมีฤทธิ์ขนาดพ่นไฟออกจากปากได้ สามารถเหาะเหิน
เดินอากาศได้ เช่นเดียวกับเทวดา ชัยชนะครั้งนี้พระองค์ทรงใช้ให้พระ
โมคคัลลานะไปแสดงฤทธิ์ที่เหนือกว่า แต่ไม่ได้ทำร้ายให้พญานาค
บาดเจ็บ เมื่อพญานาคสำนึกตัวว่า ฤทธิ์ของตนเมื่อเทียบกับพระ
อรหันต์แล้วก็น้อยนิด เหมือนเอาแสงหิ่งห้อยไปแข่งกับแสงอาทิตย์
ในที่สุดพญานาคยอมละพยศกลับสงบเสงี่ยมเจียมตัวเสมือนไส้เดือน
ตัวหนึ่ง แล้วไม่ทำร้ายใครอีกต่อไป นี่ก็เป็นชัยชนะที่ไม่ก่อเวร
ตอนที่ 4 ทรงชัยชนะด้วยเทศนาญาณอันวิเศษ เป็นชัย
ชนะที่ยิ่งใหญ่ประจำกัปป์ คือชนะท้าวพกาพรหมผู้มีฤทธิ์ ซึ่งใครๆ ก็
หลงเข้าใจผิดว่าเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งทั้งหลาย แต่แล้วพระองค์
ก็ทรงชัยชนะด้วยเทศนาญาณอันวิเศษ ทำให้ท้าวพกาพรหมสำนึกได้
เปลี่ยนจากมิจฉาทิฏฐิมาเป็นสัมมาทิฏฐิได้ แม้ข้อนี้ก็เป็นชัยชนะอัน
ยิ่งใหญ่และไม่มีการก่อเวรกรรมใดๆ ทั้งสิ้น
ชัยมงคลคาถานี้เป็นบทสวดสรรเสริญความชนะ ที่ไม่มีการ
ก่อเวร ถามว่าทำไมถึงชอบสวดกันมาก ?
ตอบว่าที่ชอบ ก็เพราะบทสวดนี้เตือนใจว่า คนเราพอมีเรื่อง
อะไรร้ายแรงเกิดขึ้น ควรพยายามหาวิธีแก้ไขที่นุ่มนวลที่สุด ไม่
พยายามต่อความยาวสาวความยืด รีบทำเรื่องให้มันสงบเรียบร้อย โดย
เร็วที่สุด เหตุการณ์ชนิดเลือดล้างด้วยเลือด ฟันต่อฟัน ตาต่อตาในพระ
พุทธศาสนาไม่มี ในจิตใจของชาวพุทธไทยไม่มีเรื่องเหล่านี้ ใจจึงสงบ
เร็วและอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะอาศัยอิทธิพลของชัยมงคลคาถา ที่
อุตส่าห์สวดพร่ำกันมาแต่ปู่ย่าตาทวดนั่นแหละ โบราณาจารย์ท่านแต่ง
โดยเอาเนื้อความในพระไตรปิฎกมาประพันธ์เป็นบทร้อยกรอง เป็น
ห ล ว ง พ่ อ 17 ตอบ ปัญหา