บทบาทของศาสนาและประเพณีในวัฒนธรรมไทย หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ศาสนา-วัฒนธรรม-ประเพณี หน้า 117
หน้าที่ 117 / 164

สรุปเนื้อหา

ข้อความนี้กล่าวถึงพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการปฏิญาณตนต่อพระสงฆ์และการยอมรับพระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่ระลึก นอกจากนี้ยังเน้นถึงความสำคัญของศาสนาในการรวมกลุ่มชุมชนและการสร้างความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียว ภายในพิธีกรรมต่างๆ เช่น การฟังพระอาจารย์ให้โอวาท รับศีล ๕ และการถวายไทยธรรม การสวดอนุโมทนาของพระสงฆ์ยังเน้นย้ำถึงบทบาทของศาสนาในสังคมไทยที่ช่วยสร้างความเป็นชุมชนและความสำคัญของศรัทธา

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของศาสนา
-พิธีกรรมในพุทธศาสนา
-การนับถือพระพุทธเจ้า
-ความสำคัญของประเพณี
-การรวมกลุ่มในสังคมไทย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ศาสนา-ประเพณี วัฒนธรรม คัจฉามิ, “เอสาหัง ภันเต, สุจิรปรินิพพุตัมปิ, ตัง ภควันตัง สรณัง ธัมมัญจ สังฆัญจ, พุทธมามโกติ มัง สังโฆ ธาเรตุ “ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น แม้ปรินิพพานนานแล้ว ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ เป็น สรณะที่ระลึกนับถือ ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าว่าเป็นพุทธมามกะ ผู้ รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน คือผู้นับถือพระพุทธเจ้า” (ถ้าเป็นผู้หญิงคนเดียวก็เปลี่ยน “พุทธมามโกติ” เป็น “พุทธ มามกาติ” ถ้าปฏิญาณพร้อมกันหลายคน ชายเปลี่ยน “เอสาหัง” เป็น “เอเต มะยัง” หญิงเป็น “เอตา มะยัง” และเปลี่ยน “คัจฉามิ” เป็น “คัจฉามะ”) จากนั้นก็ฟังพระอาจารย์ให้โอวาท จบแล้วก็รับคำว่าสาธุ แล้ว กล่าวคำอาราธนาศีล ๕ รับศีล ๕ จบแล้วกราบ ถ้ามีเครื่องไทยธรรม ก็ถวายท่านเสียตอนนั้น เมื่อพระสงฆ์สวดอนุโมทนาเรารับพรแล้ว ก็ เป็นอันเสร็จพิธี เพราะฉะนั้น ที่ถามรายละเอียดมาคงเข้าใจนะ พิธีกรรมนั้น แม้จะไม่ใช่สาระสำคัญที่สุด แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งในการเหนี่ยวนำใจคนหมู่มาก ทำให้เกิดการรวมคนได้ ทำให้ระลึก ความสำคัญของเรื่องที่เราต้องการระลึกได้ง่ายขึ้น เป็นการแสดง ออกที่เด่นชัดของความเป็นชุมชน เป็นประเทศชาติ เป็นชาวพุทธ ห ล ว ง พ่ อ ]]/ ตอบ ปัญหา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More