การครองตนและธรรมะสำหรับฆราวาส หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง การครองตน หน้า 40
หน้าที่ 40 / 118

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของการครองตนในชีวิตผู้ครองเรือน พร้อมแนะนำเรื่องบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ และโอวาท ๓ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การแสดงความซื่อตรงในความรักและการข่มใจนั้นสำคัญในการอยู่ร่วมกันของคู่รัก และนำเสนอบทเรียนชีวิตในการใช้ธรรมะเพื่อความสุขในครอบครัว การเสริมสร้างความเข้าใจให้กับผู้ที่แต่งงานและมีบุตรได้มีแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อประเด็น

-การครองตน
-ธรรมะสำหรับฆราวาส
-บุญกิริยาวัตถุ
-ความสำคัญของการซื่อตรง
-การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การครองตน เข้าใจเรื่องต่างๆ ได้มากนัก ก็ให้รู้จักบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ เป็นอันดับต่อไป ส่วนเรื่องโอวาท ๓ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือละ ชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใสนั้น บางทีญาติโยมตามไม่ทันจะเอาไว้ก่อนก็ได้ เอาไว้สำหรับสอนนักเรียนนั่นแหละดี แต่ว่าที่ควรจำไช สอนไปเรื่อยๆ คือทาน ศีล ภาวนา ว่ากันไปได้ตลอด เพราะโยมสามารถ นำไปปฏิบัติได้ แล้วตามทันด้วย ธรรมะหมวดคิหิปฏิบัติ นั่นแหละว่าไปได้เลย เทศน์ซ้ำแล้ว ซ้ำอีกก็ได้ เพราะเรื่องของคิหิปฏิบัติ คือเรื่องของการครองเรือน ญาติโยมเขาแต่งงานมีลูกมีเมียมีผัว เรื่องของเขาก็วนเวียนอยู่ในคิริ ปฏิบัติ แต่มีข้อแม้ว่าพระคุณเจ้าต้องตีความธรรมะให้แตก ถ้าตีความ ไม่แตกจะพบว่า เอ...คิหิปฏิบัตินี่ ไม่ค่อยให้อะไรเลย แต่จริงๆ แล้ว คิริ ปฏิบัติให้ประโยชน์มาก ยกตัวอย่าง เช่นหัวข้อที่ว่า “ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่ไม่ ได้นานเพราะสถานะ ๔” อ่านดูแล้วสถานะ ๔ นี้ ไม่น่าจะหนักหนา สาหัสถึงขนาดทำให้ตระกูลใหญ่ล้มละลาย C แต่จริงๆ แล้วตระกูลจะล้มละลายหรือไม่ล้มละลาย ก็อยู่ ตรงนี้แหละ นี่ยกตัวอย่าง อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสอนคือ ธรรมะของฆราวาส (๔) คือฆราวาส ธรรม ซึ่งประกอบด้วยสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เหล่านี้ ก็เรื่องของคน ครองเรือน ได้แก่ ๑) สัจจะ ซื่อตรงต่อกัน สามีภรรยาถ้าไม่ซื่อต่อกันจะอยู่กัน ได้อย่างไร ๒) ทมะ รู้จักข่มจิตข่มใจตัวเอง คนเรารักเท่ารัก พออยู่กัน นานๆ มันก็ชักเขียนกันเอง ไม่อย่างนั้นก็คงไม่หย่ากันหรอก แม้แต่โยม พระภาวนาวิริยคุณ 40 (เผด็จ ทัตตชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More