การครองตนภายใต้ภาษีสังคม หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง การครองตน หน้า 75
หน้าที่ 75 / 118

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยากลำบากของครู โดยเฉพาะในภาคอีสานที่ต้องเผชิญกับภาษีสังคม และเงินเดือนที่ต่ำ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาหนี้สิน อาจารย์จึงแบ่งปันประสบการณ์จากหลวงพ่อที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการรายได้และค่าใช้จ่าย โดยยกตัวอย่างเรื่องการตักน้ำจากเข่งและขันเพื่อเปรียบเทียบการสร้างรายได้และการรักษาเงินไว้ได้

หัวข้อประเด็น

-ปัญหาการเงินของครู
-การจัดการเงินในยามวิกฤต
-บทเรียนจากคำสอนของหลวงพ่อ
-แนวทางการใช้ชีวิตที่ประหยัด
-การบริหารจัดการรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การครองตน ๓๑. ภาษีสังคม ในขณะนี้ครูบาอาจารย์กำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างมาก เพราะมีภาษีสังคมคอยเบียดเบียน รายได้อย่างอื่นไม่มี เงินเดือนน้อยไม่พอใช้ ต้องประสบปัญหาหนี้สิน รุงรังกันทั้งนั้น โดยเฉพาะครูภาคอีสาน หลวงพ่อจะ มีวิธีแนะนำในการครองชีพอย่างไรครับ ? หลวงพ่อเองเมื่อเป็นฆราวาส ก็เจอกับปัญหานี้เหมือนกัน ตัว เองแก้ไม่ได้ โยมแม่เลยมาแก้ให้ แล้วก็แก้สำเร็จด้วย เมื่อก่อนจะบวช ก่อนจะเข้าวัด หลวงพ่อก็มีรายได้มาก ได้เดือนละหมื่นกว่าบาท ใช้คน เดียวด้วย แต่ว่าไม่พอใช้ วันหนึ่งโยมแม่ก็เรียกไปคุยเรื่องการใช้เงิน ท่านว่าอย่างนี้ “ลูกเอ๊ยรายได้เท่าไหร่ไม่สำคัญ สำคัญว่าเหลือเท่าไหร่” ก็เลยเผลอเถียงไปว่า “โธ่แม่...ได้มากมันก็เหลือมาก ได้น้อย มันก็เหลือน้อย” แม่ก็ตอบกลับ “ลูกเอ๊ยในโลกนี้ หลายๆ คน ได้มาก แต่เหลือ น้อย หรือไม่เหลือ ในขณะที่อีกหลายๆ คนเขา ได้น้อย แต่เหลือ มาก” เสร็จแล้วแม่ก็ขยายความ “ลูกเอ๊ย....ได้มากแล้วเหลือน้อย เหมือนเอาเข่งหรือเอาชะลอมตักน้ำ เมื่อตอนเข่งอยู่ในน้ำ ชะลอมอยู่ ในน้ำน่ะ น้ำเต็มเข่งนะลูก แต่พอยกขึ้นมากลับเหลือแต่เข่ง น้ำไม่มี ส่วน ที่ได้น้อยเหลือมากนั้น ก็เหมือนเอากะลาหรือขัน หรือช้อนคันเล็กๆ แต่ ว่าไม่รั่วไปตักน้ำ เมื่ออยู่ในน้ำน่ะน้ำก็เต็มกะลาหนึ่ง วันหนึ่ง ช้อนหนึ่ง แต่ยกขึ้นมาแล้ว ก็ยังมีน้ำเต็มอยู่นั่นเอง” ห ล ว ง พ่ อ ตอบ ปั ญ ห า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More