การพูดอย่างมีสติกับหลัก ๕ ประการจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง การครองตน หน้า 54
หน้าที่ 54 / 118

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอการพูดอย่างมีสติตามหลัก ๕ ประการของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มุ่งหมายให้คำพูดเป็นไปด้วยจิตเมตตา มีประโยชน์ และถ้อยคำไพเราะ เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่นและสร้างสรรค์ คนพูดต้องมีสติในการเลือกคำพูดเพื่อไม่ให้สร้างความรำคาญต่อผู้ฟัง การพูดที่ดีก็คือการคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น พร้อมทั้งตอบสนองความต้องการในการสื่อสารอย่างมีคุณภาพ โดยมิให้เกิดผลเสียทั้งต่อตนเองและคนที่อยู่รอบข้าง เช่น การไม่ใช้คำพูดที่ก่อความขัดแย้งหรือทำร้ายจิตใจผู้อื่น

หัวข้อประเด็น

-การพูดอย่างมีสติ
-หลักการพูดที่ดี
-การใช้จิตเมตตาในการสื่อสาร
-การเลือกถ้อยคำที่ไพเราะ
-การส่งเสริมการสื่อสารที่สร้างสรรค์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การครองตน ๑๙. ปิยวาจา หลวงพ่อครับ ทำอย่างไรจึงจะได้ชื่อว่าพูดเป็นครับ ? คนพูดเป็น คือ คนที่คิดให้รอบคอบ มีสติก่อนที่จะพูด หรือ กลั่นกรองคำพูดให้ละเอียดอ่อนเสียก่อน แล้วค่อยพูด เพราะคำพูดยิ่ง ละเอียดอ่อนลึกซึ้งเท่าไร ก็ยิ่งสามารถเจาะใจคนฟังได้ลึก และประทับ ใจได้นานเท่านั้น ตรงกันข้ามคำพูดยิ่งหยาบเท่าไร ก็ยิ่งระคายทั้งหู ระคายทั้งใจมากเท่านั้น ด้วยกัน คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้หลักในการพูดไว้ถึง ๕ ประการ ๑) พูดด้วยจิตเมตตา ทุกครั้งที่จะพูดกับใครก็ตาม ให้ถามตัว เองเสียก่อนว่า ที่เราจะพูดต่อไปนี้มีความปรารถนาดีต่อเขาหรือเปล่า ถ้ามีความปรารถนาร้ายก็อย่าพูด หรือถ้าคิดว่าพูดแล้วจะระคายหู ระคายใจ ทั้งคนฟังคนพูด ก็อย่าพูด ๒) พูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ถามตัวเองเสียก่อนว่า ถึงแม้ เรามีความปรารถนาดี แต่พูดไปแล้วจะเป็นประโยชน์กับเขาบ้างหรือไม่ ถ้าไม่เป็นประโยชน์ สู้ไม่พูดดีกว่า เสียเวลาเปล่า ดีไม่ดีจะกลายเป็น พูดเพ้อเจ้อ ๓) พูดถ้อยคำที่ไพเราะ อย่างน้อยที่สุดภาษาพูดต้องไม่ ระคายหูใคร แม้จะพูดหวานๆ ไม่เป็นก็ตาม คำพูดที่เป็นประโยชน์แต่ ระคายหูนั้นไม่มีใครอยากฟัง ไม่อยากทำตาม ดีไม่ดีอาจเกิดปฏิกิริยา ต่อต้าน เพราะไม่มีใครในโลกนี้ชอบให้ใครมาพูดข่มขู่ กระโชกโฮกฮาก คนพูดหยาบคาย ถึงแม้จะมีประโยชน์แต่ก็เหมือนกับเอาลวดหนาม มาทะลวงหู มันยากที่ใครจะทนทานได้ พระภาวนาวิริยคุณ 54 (เผด็จ ทั ต ต ชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More