การครองตน: ความแตกต่างระหว่างผิดและชั่ว หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง การครองตน หน้า 60
หน้าที่ 60 / 118

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงความแตกต่างระหว่าง 'ผิด' และ 'ชั่ว' โดยระบุว่าผิดหมายถึงการกระทำที่เกิดขึ้นโดยความประมาท ขณะที่ชั่วคือการรู้แต่ยังทำผิดไป โดยให้ข้อคิดว่าการกระทำใดที่อาจทำให้เราต้องมาตำหนิตัวเองในภายหลัง ก็ไม่ควรทำ แม้ไม่มีใครเห็นความผิดนั้น แต่ใจของเรายังคงรู้สึกผิดอยู่ตลอดเวลา ทำให้ไม่สามารถหลีกหนีจากความรู้สึกนั้นได้ และจบด้วยการเปรียบอาการผิดของเราเป็นดั่งสุนัขที่มีหนอนในหัว ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ไม่มีความสุข มีความยั่งยืนของการติตัวเองในใจไม่หายไป

หัวข้อประเด็น

-ความแตกต่างระหว่างผิดและชั่ว
-การรับผิดชอบต่อการกระทำ
-ผลกระทบจากการกระทำที่ผิด
-การจัดการกับความรู้สึกผิด

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การครองตน ๒๓. ผิด - ชั่ว ผิดกับชั่ว มันต่างหรือเหมือนกันอย่างไรครับ ? ผิด คือสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความประมาท พลาดพลั้งไม่ได้ตั้งใจ แล้วเกิดความเสียหายขึ้น ชั่ว คือทั้งๆ ที่รู้ว่าผิดแล้วยังฝืนทำ นี่เป็นคำตอบที่สั้นที่สุด ในเชิงปฏิบัติ มีข้อคิดที่ขอฝากเพิ่มเติม คือถ้าเราจะทำสิ่งใดก็ตาม แล้ว รู้ตัวด้วยว่าจะต้องมาตามตำหนิตัวเองได้ในภายหลัง ก็อย่าไปทำ เพราะ มันชั่ว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทารุณนะ ถ้ามีใครเขามาด่าเราหรือติเตียนเรา ด้วยความเข้าใจผิด เราไม่อยากฟังเดินหนีเสียมันก็จบ แต่ถ้าเราไปทำ ความผิดจริง แม้ไม่มีใครเห็น เราก็จะมานั่งตำหนิตัวเองอยู่นั่นแหละ “แหม...ไม่น่าไปทำเลย ทำไมเราถึงได้โง่อย่างนี้ ทำไมเราถึง เลวอย่างนี้ หลวงพ่อหลวงพี่ก็ห้ามแล้วว่าอย่าทำ” แม้ที่สุด คุณพ่อคุณแม่ก็เตือนซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าอย่าทำ แต่ว่า ก็อุตริฝ่าฝืนดึงดันไปทำเข้า นึกขึ้นมาครั้งใด ก็ไม่สบายใจทุกทีไป อย่าง นี้เรียกว่าติตัวเอง ถ้าคนอื่นๆ ติเราๆ ไม่อยากฟัง ไม่เดินหนีก็เอามืออุดหูเสียก็ได้ แต่พอเราไปทำความชั่วเข้าเอง ความชั่วนั้นมันจะตามไปหลอนอยู่ใน ใจของเรานั่นแหละ ไม่เลิกรา ใจเรามันติตัวเองไม่รู้จะหนีไปไหน มัน ก็ทุรนทุรายเหมือนอะไรรู้ไหม ขออภัยเถอะมีอาการเหมือนสุนัขหัวเน่า หนอนไชเต็มหัว อยู่ที่ไหนก็ไม่มีความสุข พอหนอนไชหัวกระดุบกระดิบ สุนัขมันเจ็บก็วิ่งอ้าวไป เจอโคนไม้นึกว่าโคนไม้ร่มเย็นดีน่าจะสบาย ก็เข้า ไปนอน แต่มันก็ไม่สบาย เพราะว่าหนอนยังคาอยู่ในหัว ไปซุกใต้ถุนบ้าน พระภาวนาวิริยคุณ 60 (เผด็จ ทัตตชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More