การจัดการกับความโกรธ หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง การครองตน หน้า 21
หน้าที่ 21 / 118

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการจัดการกับความโกรธ โดยเสนอแนวทางการรับมือเมื่อรู้สึกโกรธไม่ว่าจะเกิดจากการไม่ได้ดั่งใจหรือตนเองเป็นโรค ทำให้เกิดวิธีการคิดใหม่ว่าการตักเตือนจากเพื่อนคือการชี้แนะที่มีค่า ควรขอบคุณและเปิดโอกาสให้ตัวเองพิจารณาข้อบกพร่อง เพื่อพัฒนาอารมณ์และรักษาความสัมพันธ์กับเพื่อน.

หัวข้อประเด็น

-การจัดการอารมณ์
-ความสำคัญของคำตักเตือน
-การพัฒนาตนเอง
-การรักษามิตรภาพ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การครองตน ๕. คนขี้โกรธ มีหลายคนเตือนว่าลูกเป็นคนโกรธง่าย โดยเฉพาะเวลาที่ถูก เพื่อนๆ เตือน จะแก้ไขอย่างไรดีเจ้าคะ? ความโกรธมักจะเกิดขึ้นเมื่อเราไม่ได้ดังใจต้องการ เช่น เวลาขอให้คนอื่นช่วยทำงานให้ พอเขาทำไม่ได้ดังใจเข้า เราก็ชักจะโกรธ แม้ที่สุดเวลาทำอะไรให้ตัวเอง แต่ไม่ได้ดังใจต้องการ ก็ยังโกรธตัวเอง บางคนสุขภาพไม่ดีก็จะหงุดหงิด มักจะโกรธง่าย เมื่อเป็นเช่นนี้ เราต้องหาสาเหตุก่อนว่าโกรธเพราะไม่ได้ ดังใจ หรือเพราะสุขภาพไม่ดี แล้วแก้ไขให้ตรงเหตุ ส่วนเรื่องโกรธเวลาเพื่อนเตือนนี้ เราจะต้องพยายามเปลี่ยน มุมมองเสียใหม่ ต้องคอยเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า “ผู้ตักเตือนเราคือ ผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้เรา” พร้อมกันนั้นก็ให้นึกทบทวนดูด้วยว่า สิ่งที่เขา ตักเตือนเรานั้นจริงหรือไม่ เราควรต้องขอบคุณเขา เพราะเขากล้าเสี่ยง ต่อการที่จะถูกเราโกรธเนื่องจากเขาหวังดีต่อเรา การยอมรับคำตักเตือนของเพื่อน แล้วหันมาพิจารณาสำรวจ แก้ไขข้อบกพร่องของตัวเอง ให้เป็นคนอารมณ์ดี ไม่มักโกรธเช่นนี้ นอก จากจะเป็นการพัฒนาตนแล้ว ยังรักษามิตรภาพไว้ได้อย่างเหนียวแน่น อีกด้วย ห ล ว ง พ่ อ 21 ตอบ ปั ญ ห า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More