ข้อความต้นฉบับในหน้า
แนวคิด
1. ผู้จะทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้กับตนเองและผู้อื่น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักและเข้าใจ
ในความบกพร่อง และความต้องการเบื้องต้นของมนุษย์ทั่วไปก่อน เพื่อที่จะสามารถไปช่วยเติม
เต็มในความบกพร่อง และความต้องการของเพื่อนมนุษย์ให้สมบูรณ์ หรือให้เกิดความพร้อมที่
จะพัฒนาคุณธรรม ความดีให้ยิ่งขึ้นไป เพราะการที่บุคคลจะพัฒนาคุณธรรมความดีให้ยิ่งขึ้นไป
ได้นั้น จำเป็นต้องมีความพร้อมที่จะพัฒนาก่อน ซึ่งความพร้อมนี้ก็สามารถเติมเต็มให้เกิดขึ้นได้
โดย ยึดหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางปฏิบัติ คือ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และ
สมานัตตตา เป็นต้น
2. การเริ่มต้นทำหน้าที่กัลยาณมิตร ผู้เริ่มทำหน้าที่จะต้องทราบธรรมชาติที่แตกต่างกันของเพื่อน
มนุษย์ก่อน เพื่อที่สามารถจะทำหน้าที่กัลยาณมิตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หากได้รู้และ
เข้าใจในประเภทจริตและอุปนิสัยของบุคคลที่จะไปทำหน้าที่แล้ว ย่อมจะทำให้สามารถเตรียมตัว
และเตรียมความพร้อมต่างๆ เพื่อแนะนำแก่บุคคลได้ตรงกับประเภทจริต และอุปนิสัยของ
บุคคลเหล่านั้นได้ ซึ่งธรรมชาติที่แตกต่างกันของมนุษย์นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงจำแนก
ลักษณะของบุคคล ตามความสามารถในการพัฒนาตนเองไว้ 4 ประเภท และทรงจำแนกลักษณะ
จริต และ อุปนิสัยของบุคคลไว้ 6 ประเภท
3. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงหลักการปฏิบัติหน้าที่ หรือบทบาทที่มนุษย์จะพึงกระทำแก่กัน
เพื่อการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ถูกต้องดีงามมีระเบียบแบบแผนและนำความสุขมาสู่สังคม ดังปรากฏ
ใน สิงคาโลวาทสูตร ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสอธิบาย และสั่งสอนเรื่องการบูชาทิศทั้ง 6 ที่ถูกต้อง
ซึ่งนับเป็นแบบอย่างการทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้กับตนเองและบุคคลอื่นๆ ในสังคม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เข้าใจในความรู้เบื้องต้นว่าบุคคลทั้งหลาย ต่างก็เป็นมนุษย์ที่มีความต้องการความสุข ความ
สำเร็จ ยังมีความไม่สมบูรณ์อยู่บ้าง และยังมีความแตกต่างกันของบุคคลทั้งหลาย
2. เพื่อรู้ถึงจริตของแต่ละบุคคล จะได้ทำให้การทำหน้าที่กัลยาณมิตรเหมาะสมกับบุคคลนั้นๆ
3. เพื่อการปฏิบัติตนให้มีมนุษยสัมพันธ์กับทิศทั้ง 6 รอบตัวเรา และสามารถวางตัวให้สมกับเป็น
กัลยาณมิตร
บทที่ 1 ทั ก ษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตรเบื้องต้น
DOU 3