ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตรทางจิตใจ DF 202 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร หน้า 56
หน้าที่ 56 / 127

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงการพัฒนาจิตใจเพื่อทำหน้าที่กัลยาณมิตร โดยเน้นความสำคัญของการเข้าใจจิตใจและกิเลสที่ส่งผลต่อความสุขของมนุษย์ การเตรียมใจให้ใสสะอาดและมีกำลังใจจะช่วยให้ทำหน้าที่ได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาและเรียนรู้จากตัวอย่างของผู้ที่ประสบความสำเร็จในบทบาทนี้ การพัฒนาจิตใจถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการส่งเสริมกำลังใจให้กับผู้อื่น และการทำหน้าที่กัลยาณมิตรจะสร้างผลดีให้กับสังคม โดยมีการปฏิบัติธรรมเช่นการนั่งสมาธิและการแผ่เมตตาเป็นวิธีที่กล่าวถึงในพระพุทธศาสนา เพื่อเตรียมใจก่อนการให้คำปรึกษาและสนับสนุนผู้อื่น

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของจิตใจ
-การเตรียมใจให้ผ่องใส
-การศึกษาที่ประสบความสำเร็จ
-การฝึกฝนทักษะการเป็นกัลยาณมิตร
-การสร้างกำลังใจให้กับผู้อื่น

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. มนุษย์ประกอบด้วยกายกับใจใจนับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในตัวมนุษย์และสามารถนำพาไปสู่ความสุข ความสำเร็จให้แก่มนุษย์ได้การทำหน้าที่กัลยาณมิตรทางจิตใจนั้น ผู้ทำหน้าที่จำเป็นจะต้องศึกษา ให้รู้จักและเข้าใจในธรรมชาติ องค์ประกอบและการทำงานของจิตใจมนุษย์ อีกทั้งต้องรู้จักกิเลส ที่มาทำจิตใจของมนุษย์ให้เศร้าหมอง ตลอดจนถึงรู้วิธีการ ในการกำจัดกิเลสทั้ง 3 ตระกูล หมดสิ้นไปจากจิตใจของมนุษย์ 2. การทำหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ เราต้องเริ่มต้นโดยการทำหน้าที่กัลยาณ ให้ มิตรให้แก่ตนเองก่อนเป็นอันดับแรก กล่าวคือ การเตรียมใจให้ใสสะอาด และมีกำลังใจแล้วจึง จะสามารถไปทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้กับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมใจให้ใส ให้มีกำลังใจก่อนการไปทำหน้าที่ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงวิธี ในการเตรียมใจให้ใส และเตรียมใจให้มีกำลังโดยการนั่งสมาธิ แผ่เมตตา อธิษฐานจิต ตลอดถึง การได้ตระหนักถึงเป้าหมายชีวิต ซึ่งวิธีการเหล่านี้มีหลักการและรายละเอียดที่ควร ต้องฝึกฝน และหมั่นปฏิบัติ 3. การทำหน้าที่กัลยาณมิตรทางจิตใจ ให้มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ อีกแนวทางหนึ่ง คือการได้ศึกษาจากตัวอย่างของผู้ที่ได้ทำหน้าที่กัลยาณมิตรมาก่อน โดยตัวอย่างที่ดีจะทำให้ เราเกิดข้อคิด ได้เห็นแบบอย่าง และมีแนวทางที่สามารถนำไปฝึกฝน ปฏิบัติหรือพัฒนา แก้ไข ปรับปรุง ให้เกิดประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จให้ยิ่งขึ้นไปได้ อีกทั้งยังก่อให้เกิดกำลังใจ ในการออกไปทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้แก่กันและกันด้วย วัตถุประสงค์ 1. เพื่อก่อให้มีการพัฒนาทางด้านจิตใจให้สูงขึ้นหรือดีขึ้น เพราะถือว่ามีส่วนสำคัญของการทำหน้าที่ กัลยาณมิตรให้กับชาวโลก เช่น การไปให้กำลังใจหรือยกระดับจิตใจของชาวโลกให้สูงขึ้น 2. เพื่อให้เห็นความสำคัญของการเตรียมจิตใจ เพื่อใจของเราจะได้ผ่องใส ก่อนที่จะไปทำหน้าที่ กัลยาณมิตร 3. เพื่อสร้างให้มีมโนปณิธานของการทำหน้าที่กัลยาณมิตร ด้วยใจที่มีความปรารถนาดีต่อบุคคล ทั้งหลาย บทที่ 4 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร ทางจิตใจ DOU 47
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More