ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมและรณรงค์ เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มาอย่างต่อเนื่อง
เป็นเวลา 34 ปี นับตั้งแต่เริ่มสร้างวัดพระธรรมกาย โดยแทรกสาระเกี่ยวกับโทษของบุหรี่ และจัดกิจกรรม
ตลอดจนการสร้างเครือข่าย เผยแพร่อย่างกว้างขวาง
โดยมีกระบวนการดำเนินการ ซึ่งมีผลต่อการไม่สูบบุหรี่ สามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นการรับรู้ (Awareness)
2. ขั้นการหล่อหลอมทัศนคติ (Attitude)
3. ขั้นการยอมรับไปปฏิบัติจริง (Practice)
4. ขั้นการติดตามและประเมินผล (Evaluation)
1. ขั้นการรับรู้ (Awareness)
พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ส่งเสริมการไม่สูบบุหรี่ โดยมีกระบวนการให้การให้บุคลากรในองค์กร และ
ประชาชนที่มาวัดได้รับรู้นโยบายในการไม่สูบบุหรี่ดังนี้
1. เริ่มจากตัวท่านเองเป็นผู้นำองค์กร ซึ่งเป็นต้นแบบที่ดี (Role Model) ในการไม่สูบบุหรี่
เป็นต้นแบบในการปฏิบัติธรรม สร้างความบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา และใจ ชัดเจนในเป้าหมายชีวิต คือ การ
เกิดมาเพื่อสร้างบารมี ดังท่านได้กล่าวว่า
“ตลอดระยะเวลา 34 ปี นับตั้งแต่เริ่มต้นสร้างวัดพระธรรมกายจนปัจจุบัน
อาตมาภาพและหมู่คณะยังคงยืนหยัดและมั่นคงในมโนปณิธานนี้ไม่มีเปลี่ยนแปลง”
2. อบรมและวางข้อปฏิบัติของพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา บุคลากรในวัดพระธรรมกาย
ในการไม่สูบบุหรี่ โดยเน้นถึงโทษภัยของบุหรี่ และประโยชน์ของการเลิกบุหรี่ทั้งต่อสุขภาพ ข้อควรปฏิบัติแห่ง
ศีลที่สะอาดบริสุทธิ์และภาพลักษณ์ที่ดีงามเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของผู้มาวัดซึ่งมีผลต่อการไม่สูบบุหรี่ตลอดชีวิต
ของพระภิกษุ สามเณร เจ้าหน้าที่ประจำของวัด
3. การเทศน์สอนในเรื่องโทษของบุหรี่ ทั้งในปัจจุบันและในภพเบื้องหน้าโดยสอนให้ยึดมั่นใน
พระรัตนตรัย ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม ตอกย้ำ
ตลอดระยะเวลา 34 ปี เพื่อให้ประชาชนที่มาวัดนำมาประพฤติปฏิบัติตาม
2. ขั้นการหล่อหลอมทัศนคติ (Attitude)
พระราชภาวนาวิสุทธิ์เป็นผู้ริเริ่มกำหนดนโยบาย และทิศทางในการจัดกิจกรรมหล่อหลอม
ทัศนคติในการไม่สูบบุหรี่ โดยเริ่มจากหล่อหลอมพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และเจ้าหน้าที่ทุกคน
ให้เลิกบุหรี่อย่างเด็ดขาด และกลายเป็นผู้นำประชาชนที่มาวัดปฏิบัติธรรม หรือเข้าค่ายอบรมต่างๆ และ
94 DOU ทักษะการทำหน้าที่ กัลยาณมิตร