การสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมสุขภาพและคุณธรรม DF 202 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร หน้า 86
หน้าที่ 86 / 127

สรุปเนื้อหา

การมีความสนใจร่วมกันและการมีส่วนร่วมของสมาชิกทำให้เครือข่ายสามารถพัฒนาความเข้มแข็งได้ การส่งเสริมสนับสนุนที่ดีและการพึ่งพาอาศัยกันช่วยให้เครือข่ายเชื่อมโยงกันอย่างแน่นแฟ้น กิจกรรมร่วมกันช่วยในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ ส่งผลให้มีเครือข่ายที่มีคุณภาพ เช่น โครงการเทเหล้า-เผาบุหรี่ ที่มีวัตถุประสงค์ในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาเพื่อสุขภาพและสังคม

หัวข้อประเด็น

-การสร้างเครือข่าย
-การสนับสนุนซึ่งกันและกัน
-โครงการเทเหล้า-เผาบุหรี่
-สุขภาพและสังคม
-การพัฒนาคุณธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3. มีความสนใจที่ดีร่วมกัน เครือข่ายมีสมาชิกที่มีจุดสนใจเหมือนๆ กัน และมารวมตัวกัน 4. มีส่วนร่วมของสมาชิกอย่างกว้างขวาง โดยเครือข่ายที่สำคัญนั้น จะต้องมีส่วนร่วมที่ดีของ เครือข่าย เป็นการพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่าย 5. ส่งเสริมสนับสนุนที่ดีร่วมกัน การส่งเสริมสนับสนุน ทำให้เครือข่ายดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้เพียงพอซึ่งกันและกัน ซึ่งจะมีผลให้เกิดความพร้อมใจ และสามัคคีกัน 6. พึ่งพาอาศัยที่ดีร่วมกัน เมื่อสมาชิกมีการพึ่งพาอาศัยกันได้ ก็มีการส่งเสริมซึ่งกันและกัน ทำให้ เครือข่ายเชื่อมโยงอย่างแน่นแฟ้นกัน 7. ทำกิจกรรมที่ดีระหว่างกันร่วมกัน การทำกิจกรรมร่วมกันทำให้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ช่วยให้มีการเรียนรู้ระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งจะสร้างเครือข่ายที่มีคุณภาพและ คุณธรรม เข้มแข็งมากขึ้น 6.2 กรณีตัวอย่างการทำหน้าที่กัลยาณมิตรแบบเครือข่าย การเริ่มต้นสร้างเครือข่ายคนดี อาจจะเริ่มจากการดำเนินกิจกรรม เพื่อการแก้ปัญหาสังคมหรือ ภัยใกล้ตัวของเราก่อน แล้วก็ขยายเครือข่ายต่อไป เช่น โครงการ เทเหล้า – เผาบุหรี่ เป็นต้น โครงการเทเหล้า-เผาบุหรี่ ถวายเป็นพระราชกุศล โครงการเทเหล้า-เผาบุหรี่ เป็นโครงการหนึ่งที่มีลักษณะการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม จนสามารถนำ ไปสู่การขยายเครือข่ายได้ ซึ่งในการดำเนินโครงการนี้ ส่วนใหญ่จะมีการเขียนโครงการอย่างมีขั้นตอน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ก. หลักการและเหตุผลของการดำเนินโครงการเทเหล้า-เผาบุหรี่ แม้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อผลเสียต่อสุขภาพ แต่ทว่าแนวโน้ม การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทยกลับสูงขึ้น ทั้งในแง่ของจำนวนผู้ดื่ม ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ปัจจุบันพบว่ามีคนไทยบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ราว 15.3 ล้านคน และคิด เป็นมูลค่าการบริโภค 125,000 ล้านบาทต่อปี การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ก่อให้เกิดผลกระทบ ทั้งในเชิงสุขภาพและสังคมในหลายด้าน ที่เห็นชัดเจนที่สุดได้แก่การที่ผู้ดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ขับขี่ยานพาหนะ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจราจร กว่าร้อยละ 50 ของที่เกิดทั้งหมด และมีผลเกี่ยวข้องกับการก่อความรุนแรงต่อครอบครัว และบุคคลอื่นๆ ในลักษณะการก่ออาชญากรรม อย่างไรก็ตาม ในเทศกาลเข้าพรรษา นับเป็นเทศกาลที่ชาวพุทธจำนวนมาก ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญ บทที่ 6 การทำหน้าที่กัลยาณมิตร ระหว่างบุคคล ต่อ กลุ่ม DOU 77
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More