ทักษะการเป็นกัลยาณมิตรทางจิตใจ DF 202 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร หน้า 69
หน้าที่ 69 / 127

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงหน้าที่ของกัลยาณมิตรในการช่วยเหลือให้คนพัฒนาตนเองโดยการทำความดี และเผชิญกับความทุกข์ด้วยสติและเหตุผล รวมถึงการมีกัลยาณมิตรที่ดีสามารถช่วยส่งเสริมความสงบและการให้ทาน ส่งผลให้เกิดบุญบารมี และเป็นตัวอย่างที่ดีให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ต่อไป มีการระบุถึงกิจกรรมประเมินตนเอง เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตรในบทที่ 4 ที่นักศึกษาได้เรียนรู้

หัวข้อประเด็น

-การพัฒนาตนเอง
-หน้าที่ของกัลยาณมิตร
-การเผชิญความทุกข์
-การทำความดีและให้ทาน
-การรักษาศีลและการเจริญภาวนา
-การเป็นแบบอย่างที่ดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จานดาวธรรมมาติด เพื่อจะให้พ่อได้เห็นหลวงพ่อ ได้ฟังเทศน์ ซึ่งจะทำให้พ่ออยู่ ในบุญ ห่างจากเพื่อนขี้เหล้าที่คุ้นเคยได้” จากเรื่องที่นำมาเป็นกรณีศึกษาอาจกล่าวได้ว่า ผู้ทำหน้าที่กัลยาณมิตรนั้น มีหน้าที่สำคัญที่ส่งผล ให้คนรู้จักการพัฒนาตนเอง เพื่อให้เป็นคนดีของสังคม แม้จะประสบปัญหาหรือความทุกข์ ก็สามารถ เผชิญหน้ากับความทุกข์ได้อย่างมีสติให้พิจารณาสิ่งต่างๆ โดยใช้เหตุผล ด้วยสติปัญญา และมีความหวังกับชีวิต ว่าจะต้องดีขึ้นถ้าหากกระทำความดี มีศรัทธามั่นคงในการทำบุญและให้ทาน ตลอดจนการรักษาศีล และ การเจริญภาวนา เพื่อสั่งสมบุญบารมีไว้ในภายภาคหน้า และยังนำไปสู่การมีจิตใจโอบอ้อมอารี ให้อภัย เพื่อนมนุษย์ ไม่ผูกพยาบาท เชื่อฟัง เคารพนับถือบุคคลตามลำดับอาวุโส และยึดมั่นในความกตัญญูต่อ ผู้มีอุปการคุณ มีความสงบเสงี่ยม นอบน้อม สำรวม เกรงใจผู้อื่น และมีความระมัดระวัง รอบคอบ ฯลฯ และในที่สุด นอกจากจะสามารถเป็นกัลยาณมิตรให้กับตนเองแล้ว ยังสามารถเป็นกัลยาณมิตรให้กับคนอื่น ต่อไปอีกได้ กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 4 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตรทางจิตใจ จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 4 ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 4 แล้วจึงศึกษาบทที่ 5 ต่อไป 60 DOU ทักษะการทำหน้าที่ กัลยาณมิตร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More