ข้อความต้นฉบับในหน้า
แนวคิด
1. การทำหน้าที่กัลยาณมิตร โดยการแสดงออกทางกายอย่างเรียบร้อยดีงาม สามารถทำให้เกิด
การยอมรับและประทับใจแก่ผู้ที่เราไปทำหน้าที่กัลยาณมิตร เพราะพฤติกรรมการแสดงออก
ภายนอกของผู้ไปทำหน้าที่กัลยาณมิตร ผู้คนทั้งหลายสามารถแยกแยะได้ทันทีว่าใครเป็นคนดีควร
เชื่อถือ ศรัทธา ดังนั้นการศึกษาฝึกฝนทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตรทางกายนี้ จึงมีความ
สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย ก็มีแบบอย่างและสามารถนำไป
เป็นแนวทาง ในการฝึกฝนและปฏิบัติได้เป็นอย่างดี
2. พระพุทธศาสนาได้จำแนกถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกมาทั้งส่วนที่เป็นร่างกายและจิตใจ
ว่ามีส่วนประกอบขึ้นมาอย่างไร อะไรคือสิ่งที่มนุษย์ได้รับรู้ถึงสิ่งภายนอกที่มากระทบ หรือ
กระตุ้นจนเกิดความรู้สึกขึ้นภายใน และมีการแสดงออกเป็นพฤติกรรมภายนอก โดยอธิบาย
ไว้ในหมวดธรรมว่าด้วยขันธ์ 5 ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่จะเป็นประโยชน์ แก่การเตรียมความ
พร้อมในการทำหน้าที่กัลยาณมิตร ที่ต้องรู้ถึงเงื่อนไขความเป็นมาของการแสดงออกทาง
พฤติกรรมของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
3. การทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้มีประสิทธิภาพและเกิดความประทับใจแก่ผู้ที่เราไปทำหน้าที่ได้นั้น
พฤติกรรมและการแสดงออกภายนอกจะต้องเรียบร้อย ดีงามและเหมาะสม เพราะพฤติกรรม
และการแสดงออกภายนอกมีความสำคัญต่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตรอย่างยิ่ง จึงต้องมีการ
ฝึกฝน พัฒนาและเตรียมพร้อมในด้านพฤติกรรมและการแสดงออกภายนอกของผู้ที่จะไปทำ
หน้าที่ เช่น เรื่องการแต่งกาย บุคลิกภาพ ตลอดจนการเตรียมอาการกิริยาภายนอกให้เรียบร้อย
งดงาม เหมาะสมกับการจะไปเป็นกัลยาณมิตรให้กับบุคคลอื่น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญในการแสดงออกทางกาย ที่ทำให้เกิดการยอมรับและความเข้าใจ
ที่ดีแก่ผู้ที่เราไปทำหน้าที่กัลยาณมิตร
2. เพื่อเรียนรู้เรื่องการเตรียมตัวด้านการแต่งกาย บุคลิกภาพ ตลอดจนอาการกิริยาภายนอก
ให้เรียบร้อย งดงาม เหมาะสมกับการจะไปทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรให้กับบุคคลอื่น
3. เพื่อให้รู้จักกาลเทศะ รู้จักการปฏิบัติตนให้ถูกต้องสมควรกับสถานที่ และวงสังคมที่เข้าไป
บ ท ที่ 2 ทั ก ษะการทำหน้าที่ กั ล ย า น ม ต ร ท า ง ก า ย
DOU 19